ผลของกระบวนการบริบาลภายใต้การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อผลลัพธ์ด้านคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ Effects of Self-efficacy-based Program in Type 2 Diabetes Mellitus Patients with Poor Glycemic Control

Authors

  • Chonlapawee Mata Songkhaew Hospital
  • Daranee Chiewchantanakit

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน โดยโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังในผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่รับบริการที่โรงพยาบาลน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 32 คน ระยะเวลาศึกษา 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยทีมสหวิชาชีพ เก็บข้อมูลระดับน้ำตาล (FPG และ HbA1c) การบริโภค (BMI, น้ำหนักตัว และ calorie intake) และความร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละเม็ดยาที่กิน) แล้วทดสอบความแตกต่างโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำทางเดียว ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารที่สัปดาห์ที่ 12 ต่ำกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (147.25 ลดลงเป็น 139.59 มก./มล., P-value < 0.05) ไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (8.00% เพิ่มเป็น 8.08%, P-value = 0.53) ค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 6 และ 12 (1690.50 ลดลงเป็น 1571.63 และ 1566.21 kcal ตามลำดับ, P-value < 0.01) ความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากร้อยละ 87.70 เป็น 94.33 ในสัปดาห์ที่ 6 (P-value = 0.01) และ 95.75 ในสัปดาห์ที่ 12 (P-value < 0.01) สรุป: โปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ลดการบริโภคในแต่ละวัน และเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา คำสำคัญ: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร, น้ำตาลในเลือดสะสม, ความร่วมมือในการใช้ยา     ­­­­Abstract Objectives: To compare changes in blood glucose levels, results of modified health behaviors, and medication adherence in diabetic patients with uncontrolled glycemia with a self-efficacy-based health behavior modifying program. Method: This quasi-experimental research compared outcomes before and after the 12-week program in 32 diabetic patients at Nam Nao Hospital, Phetchabun, Thailand. The program was carried out by a multidisciplinary team. Outcomes of glycemic control (FPG and HbA1c), health behavior (BMI, body weight, and calorie intake), and medication adherence (% pills taken) and compared for differences using repeated measure ANOVA. Results: At week 12, FPG level was significantly lower than that before the program (147.25 to 139.59 mg/dl, P-value < 0.05). However, HbA1c level was not different (8.00 to 8.08%, P-value = 0.53). Calorie intake from before the program decreased at week 6 and week 12 (1,690.50 to 1,571.63 and 1,566.21 kcal, respectively, P-value < 0.01). Medication adherence increased from 87.70% at baseline to 94.33% at week 6 (P-value = 0.01) and 95.75% at week 12 (P-value < 0.01). Conclusion: Self-efficacy-based program improved FPG, calorie intake, and medication adherence among type 2 diabetic patients with uncontrolled blood sugar. Keywords: self-efficacy, type 2 diabetes mellitus, fasting plasma glucose, HbA1c, medication adherence  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-12-31