ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นตอนต้น ของผู้ปกครองและวัยรุ่นตอนต้น Factors Related to Sexual and Reproductive Health Communication in Early Adolescence among Parents and Early Adolescents

Authors

  • Kananit Sanghirun Srinakharinwirot University
  • Mayurachat Kanyamee
  • Wilaiwan Pathike
  • Hatairat Chonjaroen

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ รูปแบบการเลี้ยงดูต่อการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นตอนต้นของผู้ปกครองและบุตรวัยรุ่นตอนต้น วิธีการศึกษา: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายมีตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้นและผู้ปกครองของวัยรุ่นแต่ละรายอย่างละ 381 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยคัดเลือกโรงเรียน 3 แห่งในจังหวัดนครนายกแบบเจาะจงแล้วเลือกนักเรียนโดยการสุ่มแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุดสำหรับผู้ปกครองและวัยรุ่นตอนต้น ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ รูปแบบการเลี้ยงดู และการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วย Chi-square test และสถิติวิเคราะห์พหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: ผู้ปกครองที่มีความรู้และทัศนคติเชิงบวกต่อการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศฯ มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารด้านความถี่ ความสะดวกใจและเห็นถึงความสำคัญในการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) เช่นเดียวกันกับวัยรุ่นตอนต้นที่มีความรู้และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศฯ มีความสัมพันธ์กับการเห็นความสำคัญในการสื่อสารเรื่องสุขภาพฯ กับผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) เช่นกัน ทัศนคติเป็นปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดของการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศฯ ในผู้ปกครองและวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001 สำหรับทั้งคู่) โดยอธิบายความแปรปรวนของการสื่อสารได้ร้อยละ 10.20 และ 15.90 ตามลำดับ สรุป: ทัศนคติเชิงบวกเป็นปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดในการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นตอนต้นของผู้ปกครองและวัยรุ่นตอนต้น ควรส่งเสริมความรู้ สร้างทัศนคติเชิงบวกและสร้างทักษะการสื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ทั้งผู้ปกครองและวัยรุ่นตอนต้น คำสำคัญ: สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์, การสื่อสาร, ผู้ปกครอง, วัยรุ่นตอนต้น ­­­­Abstract Objective: To predict relationships between knowledge, attitudes, and parenting styles on sexual and reproductive health communication in early adolescence among parents and early adolescents. Methods: This predictive correlational study had 381 early adolescents and their parents as sample. Three high schools were purposively selected, and students were randomly selected. Data were collected using two sets of questionnaires for parents and early adolescents, consisting of characteristic demographics, and questionnaires on knowledge, attitudes, and parenting styles on sexual and reproductive health communication. Chi-square test and multiple stepwise regression analysis were used for statistical analysis. Results: Parents with positive knowledge and attitude on sexual and reproductive health communication had significant relationships with the communication on the aspects of frequency, comfortability, and importance of the communication in early adolescence with (P-value < 0.001). While in early adolescents, positive knowledge and attitude on the communication were significantly related with importance of the communication (P-value < 0.001). Attitudes were the best predictor of the communication among parents and early adolescent with statistically significant (P-value < 0.001 for both) and could predict variance of the communication by 10.20% and 15.90%, respectively. Conclusion: Attitudes were the best predictor of sexual and reproductive health communication in early adolescence among parents and early adolescents. Knowledge, positive attitude and sexual and reproductive health communication skills should be promoted both in parents and early adolescents. Keywords: sexual and reproductive health, communication, parents, early adolescent

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-12-31