The ผลของโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคมต่อการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น Effects of Social Cognitive Theory Applied Program on E-cigarette Smoking Prevention Among Junior High School Students

Authors

  • ปิยะวดี พุฒไทย โรงพยาบาลโป่งน้ำร้อน
  • Rungrat Srisuriyawat
  • Pornnapa Homsin

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคมต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบกึ่งทดลองมีตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนใน จ.จันทบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 37 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมซึ่งพัฒนาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีปัญญาทางสังคมซึ่งมีกิจกรรม 4 ชุด นาน 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติ ปัจจัยที่ศึกษา คือ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า วัดผล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 8) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทาง Google FormTM ทดสอบการเปลี่ยนแปลงคะแนนของปัจจัยดังกล่าวด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: หลังการทดลองทันทีและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001, 0.002, 0.009 และ < 0.001 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: โปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคม สามารถเพิ่มคะแนนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ คือ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการสูบบุหรี่ไฟ และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น คำสำคัญ: โปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาทางสังคม, การป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้า, วัยรุ่นตอนต้น Abstract Objective: To examine effects of the social cognitive theory-based program factors associating with E-cigarette smoking prevention among junior high school students. Method: In this quasi-experiment study, participants were male and female students in the 8th grade at a high school in Chanthaburi province. They were assigned to the test and control groups, 37 each. Participants in the test group received 4 weekly training sessions while those in the control group attended regular classes. Through the online Google FormTM, the study factors of knowledge about, outcome expectation of, self-efficacy in and the intention not smoke E-cigarette were measured using a questionnaire. These factors were measured at three times points (i.e., before and after the program, and at 4-week follow-up). Changes in scores of each of the four factors over time between the two groups were tested using repeated measure ANOVA. Results: At post-test and follow-up, scores of knowledge about, outcome expectation of, self-efficacy in refusing, and the intention not to smoke E-cigarette were significantly higher than those before the program (P-value < 0.001, 0.002, 0.009 and < 0.001, respectively), and significantly higher than those in the control group. Conclusion: The social cognitive theory-based program improved scores of factors associating with E-cigarette smoking prevention including knowledge about, outcome expectation of, self-efficacy in refusing, and the intention not to smoke E-cigarette among early adolescents Keywords: social cognitive theory-based program, E-cigarette smoking prevention, early adolescents  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-31