ผลของการใช้แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือตรวจสอบขนาดยาความเสี่ยงสูงเทียบกับการคำนวณด้วยมือ Effects of A Mobile Phone Application in Examining Dosage of High Alert Drugs Compared with Manual Calculation
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบคะแนนที่ได้และเวลาที่ใช้ตรวจสอบขนาดยาความเสี่ยงสูงในใบสั่งยาสมมติระหว่างการใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและการคำนวณด้วยมือ วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบ cross-over design ที่มี two-period (ก่อนและหลัง washout period), two-sequence (ใช้แอปพลิเคชันตามด้วยการคำนวณด้วยมือ กับการคำนวณด้วยมือตามด้วยแอปพลิเคชัน), two-method (วิธีที่ใช้แอปพลิเคชันและวิธีคำนวณด้วยมือ) กลุ่มตัวอย่างเป็นเภสัชกร 31 คน ที่ทำงานในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง ดำเนินการวิจัยในช่วงธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2559 โดยสร้างแอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์ โดยแอปพลิเคชันแสดงขั้นตอนการคำนวณอย่างละเอียด แล้วสร้างคำสั่งใช้ยาในใบสั่งยาสมมติพร้อมคำถามประกบใบสั่งยาให้เภสัชกรตรวจสอบขนาดยาว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยทดสอบยาความเสี่ยงสูง 6 ชนิด คือ dobutamine, dopamine, potassium chloride, nicardipine, nitroglycerine และ norepinephrine โดยแสดงการคำนวณเป็น (1) อัตราการให้ยา (ml/hr) (2) ขนาดยาที่ผู้ป่วยควรได้รับ (µg/kg/min) และ (3) ขนาดยาที่ใช้กับผู้ป่วยรายนั้น ๆ (mg) โดยใช้ใบสั่งยา 7 ใบที่มีความยากง่ายใกล้เคียงกันสำหรับแต่ละวิธีตรวจสอบขนาดยา ให้เภสัชกรตรวจสอบขนาดยาทั้ง 7 ใบแล้วจับเวลาและให้คะแนนผลการตรวจสอบ เปรียบเทียบคะแนนที่ทำได้ถูกต้อง (เต็ม 7 คะแนน) และเวลาเป็นวินาทีโดย ANOVA ผลการศึกษา: คะแนนตรวจสอบขนาดยาส่วนมากมีค่า 6 คะแนนขึ้นไป และไม่ต่างกันทั้งในแง่ period, sequence หรือ method แต่เวลาที่ใช้ต่างกันคือ ช่วงแรก (1,014.65 วินาที) ใช้เวลามากกว่าช่วงที่สอง (852.90 วินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.002) และแอปพลิเคชัน (649.06 วินาที) น้อยกว่าการคำนวณด้วยมือ (1,218.48 วินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) สรุป: แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือช่วยให้การตรวจสอบขนาดยาความเสี่ยงสูงได้ดีพอ ๆ กับการคำนวณด้วยมือ แต่ลดเวลาการทำงานได้มาก คำสำคัญ: แอปพลิเคชัน, โทรศัพท์มือถือ, ตรวจสอบขนาดยา, ยาความเสี่ยงสูง ... Abstract Objectives: To compare scores and times in examining prescribed doses of high-alert drugs (HADs) in prescriptions between mobile phone application and manual calculation. Methods: This cross-over study tested two-period, two-sequence (application use followed by manual calculation and vice versa) and two-method (application and manual calculation) effects on scores and time in examining prescribed doses of 6 HADs (dobutamine, dopamine, potassium chloride, nicardipine, nitroglycerine and norepinephrine). Sample was 31 pharmacists working in 5 general hospitals and medical centers. The study was conducted from December 2015 to March 2016. The developed android application displayed all calculation steps. With each method, pharmacists examined (1) rate of administration (ml/hr) (2) dose per kg per min and (3) total dose (mg) in 7 prescriptions along with questions with comparable difficulty. Scores (total of 7 points) and time (in seconds) were recorded and statistically tested using ANOVA. Questionnaire on desirable characteristics the application was filled at the end of the experiment and presented as percentage. Results: Total scores on examining the prescribed doses were mostly more than 6 points with no statistical difference regarding differences in period, sequence or method. Time used in the first period (1,014.65 seconds) was longer than that in the second period (852.90 seconds) with statistical significance (P-value = 0.002), and that with application use (649.06 seconds) was shorter than that with manual calculation (1,218.48 seconds) with statistical significance (P-value < 0.001). Conclusion: Mobile phone application offered performance in examining prescribed doses of HADs comparable to that of manual calculation but with a shorter time. Keywords: application, mobile phone, dose examination, high alert drugDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์