ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหญิงในจังหวัดชลบุรี Predictors of Intention to Use Dual Contraception among Junior High School Female Students in Chonburi Province, Thailand
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหญิงในจังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทำนายมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐชั้นปีที่ 2 และ 3 ในจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 407 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ทัศคติต่อพฤติกรรมทางเพศ ความสะดวกใจของการสื่อสารทางเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงคุมกำเนิดแบบสองวิธี การรับรู้ความสามารถในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี และความตั้งใจคุมกำเนิดแบบสองวิธีของวัยรุ่นหญิง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 68.8 มีความตั้งใจคุมกำเนิดแบบสองวิธีระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 26.35 คะแนน) โดยสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (β = -0.292) การรับรู้ความสามารถของตนเองในคุมกำเนิดแบบสองวิธี (β = 0.239) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (β = 0.178) (P-value < 0.001 ทั้งหมด) และ ความสะดวกใจของการสื่อสารทางเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครอง (β = 0.116, P-value = 0.007) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจคุมกำเนิดได้ร้อยละ 28 (R2adj= 0.281, F = 7.23, P-value = 0.007) สรุป: ความตั้งใจการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับสูง และสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การรับรู้ความสามารถของตนเองในคุมกำเนิดแบบสองวิธี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสะดวกใจของการสื่อสารทางเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครองคำสำคัญ: การคุมกำเนิดแบบสองวิธี, การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ความตั้งใจในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี Abstract Objective: To determine the intention to use contraception and its predictive factors in junior high school female students in Chonburi province, Thailand. Method: In this predictive research, participants were 407 female students from junior high schools (grade 8 and 9) in Chonburi province recruited by multi-stage random sampling. Data collection was carried out from August to October 2021. Participants completed online questionnaires including demographic data, attitude toward sexual behavior, knowledge of contraception, comfortableness with sex communication with parents, attitudes toward dual contraception, subjective norms of dual contraception, self-efficacy of dual contraception and intention to use dual contraception. Associations were tested using stepwise multiple regression analysis. Results: Majority of participants had high level of intention to use dual contraception (68.8%) with a mean of 26.35 points. The intention was significantly associated with attitude toward dual contraception (β = -0.292), self-efficacy in dual contraception (β= 0.239), academic achievement (β = 0.178) with P-value < 0.001 for all, and comfortableness with sex communication with parents (β = 0.116, P -value = .007). These factors together explained 28.8% of variance of the intention to use dual contraception (R2adj = 0.281, P-value = 0.007). Conclusion: The intention to dual contraception among junior high school female students was at a high level and was associated attitudes toward dual contraception, self-efficacy in dual contraception, academic achievement and comfortableness with sex communication with parents. Keywords: dual contraception, unplanned pregnancy, sexually transmitted diseases, intention to use dual contraceptionDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-03-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์