ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง Factors Associated with Fall Efficacy among Older Adult Patients Admitted in A Private Hospital
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม (fall efficacy) ของผู้ป่วยสูงอายุ วิธีการศึกษา: สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 97 คน จากผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ส่วนบุคคล เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว และแบบประเมินความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนแรงค์ออเดอร์ (rs) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล (rpb) ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มในระดับสูง ร้อยละ 78.35 และสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถในการทรงตัว และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับปานกลาง (rs = 0.581, P-value < 0.001, rs = 0.581, P-value < 0.001 ตามลำดับ) และสัมพันธ์ทางลบกับความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าระดับปานกลาง (rpb = -0.328, P-value < 0.01) และจำนวนอุปกรณ์การแพทย์พันธ์ในระดับต่ำ (rs = -0.293, P-value < 0.01) สรุป: ผู้ป่วยสูงอายุที่รักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนมีความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้มในระดับสูง และสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการ และทางลบกับความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าและจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ คำสำคัญ: ความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยไม่หกล้ม, ผู้ป่วยสูงอายุ, การรับรู้ความสามารถในการทรงตัว, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน Abstract Objective: To determine level of efficacy and its associating factors in older adults hospitalized in a private hospital. Method: Older adult patients hospitalized in a private hospital by simple random sampling was recruited (N = 97). Research instruments included demographic questionnaire, automatic blood pressure monitor, the Modified Barthel Activities of Daily Living (ADL)Index, perceived balance ability question, and the Fall-Efficacy Scale. Associations between fall efficacy and its associating factors were based on Spearman ranked order correlation coefficient (rs) and point-biserial correlation coefficient (rpb). Results: Majority of the participants a high level of fall efficacy (78.35%). Fall efficacy was significantly, positively correlated with perceived balance abilities and capability to perform ADL with a moderate level (rs = 0.581, P-value < 0.001, rs = 0.581, P-value < 0.001, respectively), and negatively correlated with orthostatic hypotension with a moderate level (rpb = -0.328, P-value < 0.01) and number of medical devices used with a low level (rs = -0.293, P-value < 0.01). Conclusion: Fall efficacy in older adults hospitalized in a private hospital was at a high level, and positively correlated with perceive balance ability and capability to perform ADL, and negative correlated with orthostatic hypotension and number of medical devices used. Keywords: fall efficacy, older adult patients, perceived balance ability, activity of daily livingDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-03-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์