โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดแบบเบ็ดเสร็จ ขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล: การศึกษานำร่อง The Comprehensive Preterm Infant Developmental Care Program in Hospitalized Preterm Infants: A Pilot Study
Abstract
Abs บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดแบบเบ็ดเสร็จต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ปกครอง การเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านประสาทพฤติกรรมของทารกคลอดก่อนกำหนดขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล วิธีการศึกษา: การศึกษานำร่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังการทดลองและติดตามผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นผู้ปกครองและทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 28 - 32 สัปดาห์ ที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลชลบุรี 10 ราย รวบรวมข้อมูล 4 สัปดาห์ โดยจัดกิจกรรมเป็นรายบุคคลใช้เวลา 1 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 60 - 90 นาที ครอบคลุมกิจกรรมทั้ง 6 ระยะ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินพัฒนาการด้านประสาทพฤติกรรมของทารก เครื่องชั่งน้ำหนัก เทปวัด และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงดูทารกของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านประสาทพฤติกรรมของทารกคลอดก่อนกำหนดระยะหลังการเข้าร่วมโปรแกรมและระยะติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าในระยะก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.01 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในกิจกรรมของโปรแกรม สรุป: โปรแกรมการดูแลพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดแบบเบ็ดเสร็จมีความเป็นไปได้ที่จะนําทดสอบในการศึกษาหลัก โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น คำสำคัญ: โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการแบบเบ็ดเสร็จ, ทารกคลอดก่อนกำหนด, ประสาทพฤติกรรม, สมรรถนะแห่งตน tract Objective: To examine the feasibility of the comprehensive preterm infant developmental care program on parental self-efficacy, growth and neurobehavioral development of hospitalized preterm infants. Methods: This pilot study was a quasi-experimental design with a one-group comparison, pre-posttest, and follow-up. Ten parent-preterm infant dyads were recruited by using a simple random sampling technique. Preterm infants were born at a gestational age of between 28 – 32 weeks and were hospitalized in the NICU at Chon Buri Hospital, Muang district, Chon Buri province, Thailand. Data were collected for 4 weeks. The program was carried out at a hospital with individuals, which contained activities of one week’s duration, including six stages within four sessions. Each session lasted 60 - 90 minutes. Questionnaire consisted of the Neonatal Neurobehavioral Examination, a digital weight scale, a measuring tape, and the Perceived Maternal Parenting Self-Efficacy. Data were analyzed by using descriptive statistics and repeated measures ANOVA. Results: The scores of parental self-efficacy, preterm infant growth, and neurobehavioral development at post-test and follow-up were significantly higher than the pre-test (P-value < 0.01 for all). The parents were satisfied with the program’s activities. Conclusion: The comprehensive preterm infant developmental care program was feasible for further studies with a larger sample size. Keywords: comprehensive preterm infant developmental care program, preterm infants, neurobehavioral development, self-efficacyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์