ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด Factors Influencing Health Literacy of Repeat Pregnancy Prevention among Postpartum Adolescent Mothers
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทำนายในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่พักฟื้นแผนกหลังคลอด และมารับบริการแผนกวางแผนครอบครัวหลังคลอด โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ใน จ.ชลบุรี จำนวน 122 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ อิทธิพลของครอบครัวและคู่รักในการป้องกันการตั้งครรภ์ อิทธิพลของเพื่อนในการป้องกันการตั้งครรภ์ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ได้แก่ ทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ (β = 0.243, P-value = 0.002) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ (β = 0.271 P-value = 0.001) และอิทธิพลของเพื่อนในการป้องกันการตั้งครรภ์ (β = 0.326 P-value < 0.001) และสามารถร่วมทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 36.6 (R2 = 0.366, F(3,118) = 22.721, P-value < 0.001) สรุป: ผลการศึกษาสนับสนุนการส่งเสริมทัศนคติที่ดีในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ โดยส่งเสริมให้บุคคลที่มีความสำคัญต่อมารดาวัยรุ่น เช่น เพื่อน มีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อให้มารดาวัยรุ่นมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้ คำสำคัญ: ทัศนคติ, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, อิทธิพลของเพื่อน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ, มารดาวัยรุ่นหลังคลอด Abstract Objective: To determine factors influencing health literacy of repeat pregnancy prevention among postpartum adolescent mothers. Methods: This predictive research study recruited 122 primiparous adolescent mothers who were admitted at postpartum ward and who visited family planning department at a public hospital in Chonburi province. Participants completed the questionnaires for personal information, attitude toward repeat pregnancy prevention, self-efficacy toward repeat pregnancy prevention, influence of family and partner toward repeat pregnancy prevention, influence of friends toward repeat pregnancy prevention, and health literacy of repeat pregnancy prevention. Associations were analyzed using multiple regression analysis. Results: The results revealed that factor that significantly influenced health literacy of repeat pregnancy prevention was attitude (β = 0.243 P-value < 0.01) self-efficacy (β = 0.271 P-value = 0.002) and influence of friends (β = 0.326, P-value = 0.001). These variables significantly predicted 36.6% of the variance in health literacy of repeat pregnancy prevention (R2 = 0.366, F(3,118) = 22.721, P-value < 0.001). Conclusion: Study findings suggest promoting repeat pregnancy prevention in adolescent mothers and include people who are important to adolescent mothers such as friends to participate in pregnancy prevention counselling to allow postpartum adolescent mothers have self-efficacy in preventing pregnancy to increase health literacy of repeat pregnancy prevention and prevent repeated rapid pregnancies. Keywords: attitude, self-efficacy, influences of friends, health literacy, repeat pregnancy prevention, postpartum adolescent mothersDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-10-03
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์