รายงานผู้ป่วย: การเกิด Torsade de point ในผู้ป่วยที่ได้รับยา haloperidol ชนิดรับประทาน A Case Report: The Occurrence of Torsade de Point in Patients Treated with Oral Haloperidol

Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):308-315.

Authors

  • Sutthirat Inmuanghiranchot
  • Thanyarat Kiatthareethana
  • Pitchapa Kaewkan

Abstract

บทคัดย่อ   Haloperidol เป็นยาในกลุ่มยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่า ที่ถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันชนิดตื่นตัว (hyperactive delirium) การยืดขยายของช่วงคิวที (QT prolongation) เป็นหนึ่งในอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงนำไปสู่การเกิด Torsade’s de pointes (TdP) และการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ โดยการยืดของ QTc ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ซึ่งการเกิด drug-associated QT prolongation แบ่งตามทิสเดล สกอร์ (Tisdale score) เป็นความเสี่ยงสูง ปานกลาง และความเสี่ยงต่ำ จากเพศหญิง อายุมาก ยาที่ใช้ร่วม โรคร่วมที่เป็น ค่า QTc baseline ระดับโพแทสเซียม เป็นต้น โดยอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวขึ้นกับขนาดยา (dose-dependent) การป้องกันไม่ให้เกิด QT prolongation เป็นบทบาทหนึ่งของเภสัชกรโดยแนะนำให้ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยง เปรียบเทียบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา ควรแนะนำทีมให้มีการตรวจวัด EKG ร่วมกับประเมินค่าเกลือแร่ในเลือด ก่อนเริ่มให้ยา แนะนำให้ทีมหลีกเลี่ยงการใช้ควบคู่กับยาที่มีรายงานการเกิด QT prolongation และหากจำเป็นต้องใช้ยาที่เกิดอันตรกิริยากับ Haloperidol จะต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสม คำสำคัญ: ฮาโลเพอริดอล, การยืดขยายของช่วงคิวที, ทิสเดล สกอร์   Abstract Haloperidol is known as typical antipsychotics, used in treatment of hyperactive delirium. QT prolongation is one of the severe adverse events from using haloperidol which can lead to Torsade’s de pointes (TdP) and sudden death. QTc prolongation depends on the patient's risk factors. The incidence of drug-associated QT prolongation was classified according to the Tisdale score as high-, medium-, and low-risk for female, advanced age, concomitant drug, comorbidity, QTc baseline, potassium level, etc. QT prolongation is a dose-dependent adverse reaction. Pharmacist plays an important role to prevent these adverse effects from QT prolongation. Before using haloperidol, the pharmacist should evaluate patient’s QT prolongation risk factors as well as benefits from the medication. Pharmacist should recommend EKG monitoring and serum electrolyte evaluation. Pharmacist should advise care team to avoid using other QT-prolongation drugs at the same time. Dose adjustment is recommended in drug-drug interaction condition. Keywords: haloperidol, QT prolongation, Tisdale score  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-10-01