การวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์และกัญชาทางการแพทย์แผนไทยระดับเขตสุขภาพที่ 4 Medical Cannabis Use in the Health Region 4 of Thailand

Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):296-307.

Authors

  • Chavanvalai Meksawasdichai Chavanvalai Meksawasdichai

Abstract

บทคัดย่อ   วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ตามหลักการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (participatory action research; PAR) วิธีการศึกษา: ศึกษาในโรงพยาบาลของรัฐทั้งโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนใน 8 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 4 ในช่วงสิงหาคม 2562 ถึงสิงหาคม 2563 โดยศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเอื้อและรั้งต่อการสั่งใช้ยากัญชาทำในบุคลากร 140 คนในเขตสุขภาพที่ 4 ส่วนความเห็นต่อการสร้างแนวทางคลินิกกัญชาใหม่ในบุคลากร 30 คนที่เป็นคณะกรรมการพัฒนาคลินิกกัญชาของ จ.สระบุรี ดำเนินการพัฒนาแนวทางการจัดบริการคลินิกกัญชาตาม PAR คือวางแผน ดำเนินการ สังเกต และสะท้อน ผลการศึกษา: จากทั้งหมด 71 โรงพยาบาลในเขต 4 มีโรงพยาบาลที่มีคลินิกกัญชาจาก 8.70% ในปี 2562 (กันยายนถึงธันวาคม 2562) เพิ่มเป็น 32.39% ในปี 2563 (มกราคม - เมษายน 2563) ส่วนสัดส่วนคนไข้ที่ได้รับการสั่งยากัญชาเพิ่มจาก 23.75% เป็น 78.47% ส่วนใน จ.สระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผู้วิจัยได้สร้างแนวทางคลินิกกัญชาพบว่าเดิมมีโรงพยาบาล 3 แห่งที่มีคลินิกกัญชาในช่วงมกราคมถึงเมษายน 2563 (ซึ่งการทดลองแนวทางใหม่ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563) แล้วเพิ่มเป็นครบ 12 แห่งในช่วงสังเกต (หรือประเมิน) (พฤษภาคมถึงสิงหาคม 2563) และสัดส่วนคนไข้ที่ได้รับการสั่งยากัญชาเพิ่มจาก 68.84% เป็น 84.81% แต่มีการสั่งใช้ 6 ใน 20 ผลิตภัณฑ์ยากัญชา สำหรับ 5 ใน 11 กลุ่มอาการ ปัจจัยเอื้อการสั่งใช้กัญชา 3 อันดับแรก คือ สั่งใช้ตามนโยบาย ผู้ป่วยเรียกหายา และยาได้รับการสนับสนุน ส่วนปัจจัยรั้ง 3 อันดับแรก ได้แก่ รูปแบบการจัดบริการที่ไม่เอื้อ ผู้สั่งใช้ยาไม่มีข้อมูล และผู้สั่งใช้ยาไม่มั่นใจประสิทธิภาพยา ความพึงพอใจหลังนำแนวทางคลินิกใหม่มาใช้ค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย 4.37 จาก 5 คะแนน)  สรุป: แนวทางบริการคลินิกกัญชาใหม่ทำให้มีสัดส่วนคนไข้ที่ได้รับการสั่งใช้ยากัญชามากขึ้น ควรปรับปรุงแนวทางบริการให้สะดวกต่อผู้ให้บริการมากขึ้นและให้ข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยากัญชาแก่ผู้สั่งใช้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจในการสั่งใช้ยากัญชามากขึ้น คำสำคัญ: คลินิกกัญชาทางการแพทย์, การสร้างแนวทางการจัดบริการคลินิกกัญชา, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม, การสั่งใช้ยากัญชา, ปัจจัยเอื้อและปัจจัยรั้ง, เขตสุขภาพที่ 4, จังหวัดสระบุรี   Abstract Objective: To develop and test the new guideline for cannabis clinic as guided by participatory action research (PAR). Method: The study was conducted in all 71 public hospitals in 8 provinces in the Health Region 4 of Thailand from August 2019 to August 2020. Promoting and inhibiting factors for cannabis prescribing were studied in 140 healthcare providers in the Health Region 4; while opinions on developing the nee cannabis clinic guideline were obtained from 30 members of the committee for medical cannabis use of Saraburi province. The process guided by PAR (i.e., plan, action, observation, and reflection) was conducted. Results: Of the 71 hospitals in the Health Region 4, 8.70% and 32.39% of them had cannabis clinic in 2019 (September to December 2019) and 2020 (January to April 2020), respectively. Proportions of patients prescribed with cannabis products increased from 23.75% to 78.47%. In Saraburi province where cannbis clinic guideline was developed and intesnvely implemented, 3 hospitals had cannabis clinic in January to April 2020 (with the implementation from March to April 2020), then all 12 hospitals did so in observation or evaluation period (May to August 2020). Proportions of patients prescribed with cannabis products increased from 68.84% to 84.81%. Only 6 of 20 approved products and 5 of 11 illnesses approved for cannabis use were prescribed. The 3 most found promoting factors included prescribing as mandated by policy, as requested by patients, and as supported by the government; the 3 most found prohibing factors were mpractice service format, inadequate information for prescribers, and low confidence in products efficacy. Satisfaction toward the nw clinic guideline was at a high level (mean = 4.37 out of 5 points). Conclusion: The new cannabis clinic guideline increased the proportions of patients prescribd with cannabis products. More practical guidance and information of efficacy and safety of the products could further enahce the prescribers’ confidence. Keywords: medical cannabis clinic, development of cannabis clinic guideline, participatory action research, cannabis prescribing, promoting and inhibiting factors, Health Regioj 4, Saraburi province

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-10-01