ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Factors Related to Fear of Falling among the Elderly with End-stage Renal Disease Undergoing Hemodialysis
Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):278-286.
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตน (หรือความมั่นใจที่จะทำกิจกรรมโดยไม่กลัวการหกล้ม ซึ่งเป็นส่วนกลับของความกลัวการหกล้ม) กับการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความพร่องในการมองเห็น การควบคุมระดับครีเอตินีนในเลือดได้ การควบคุมระดับฮอร์โมนพาราไทยรอยด์ในเลือดได้ และภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด ในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเชิงความสัมพันธ์ มีกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่โรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคตะวันออก ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย 115 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แผ่นวัดสายตาระบบตัวเลขระยะใกล้ และแบบประเมินความกลัวการหกล้มฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ ออเดอร์ (rs) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล (rpb) ตามความเหมาะสม ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความมั่นใจที่จะทำกิจกรรมร้อยละ76.53 พบว่าความมั่นใจสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการควบคุมระดับครีอะตินินในเลือดได้ที่ระดับปานกลาง (rpb = 0.489, rs = 0.321, และ rpb = 0.308 ตามลำดับ, P-value < 0.001 ทั้งหมด) กับการควบคุมระดับพาราไทรอยด์ในเลือดได้ที่ระดับต่ำ (rpb = 0.178, P-value = 0.030) และสัมพันธ์ทางลบกับความพร่องในการมองเห็นที่ระดับต่ำ (rpb = -0.261, P-value = 0.002) สรุป: ในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ความมั่นใจที่จะทำกิจกรรมสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การรับรู้ภาวะสุขภาพ การควบคุมระดับครีอะตินินและระดับฮอร์โมนพาราไทยรอยด์ในเลือด และสัมพันธ์ทางลบกับความพร่องในการมองเห็น คำสำคัญ: ปัจจัย, ความกลัวการหกล้ม, ความมั่นใจที่จะทำกิจกรรมโดยไม่กลัวการหกล้ม, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, ผู้สูงอายุ, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Abstract Objective: To examine correlations between self-efficacy or confidence in performing activities without fear of falling with perceived health status, performance level in activities of daily living, poor visual acuity, having serum creatinine and parathyroid hormone under control, and hypotension while on hemodialysis in elderly patients with end-stage renal disease (ESRD) undergoing hemodialysis (HD). Method: In this correlational study, 115 ESRD elderly patients undergoing HD at tertiary hospitals in the eastern region of Thailand were selected by simple random sampling. Data were collected using demographic questionnaire, perceived health status interview form, Barthel ADL index, timed up & go test, Near Snellen chart and the Thai Modified Fall Efficacy Scale. Correlations were tested using Spearman rank order and point biserial correlation coefficients. Results: The majority of participants had confidence to perform activities without fear of falling (76.53%). The confidence was significantly, positively correlated with performance level, perceive health status, and having creatinine under control at a moderate level (rpb = 0.489, rs = 0.321, and rpb = 0.308, respectively, P-value < 0.001 for all) and having parathyroid hormone under control at a low level (rpb = 0.178, P-value = 0.030). The confidence was significantly, negatively correlated with poor visual acuity at a low level (rpb = -0.261, P-value = 0.002). Conclusion: In ESRD elderly patients undergoing HD, their confidence in performing activities without fear of falling was positively correlated with performance level, perceive health status, and having creatinine and parathyroid hormone under control, and negatively correlated with having poor visual acuity. Keywords: factors, fear of falling, confidence in performing activities without fear of falling, self-efficacy, older adults, end-stage renal disease, hemodialysisDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์