Effects of A School-Based Pregnancy Prevention Program on Sexual Health Literacy, Pregnancy Prevention Behavior and Sexual Risk Behavior among Female Teenagers and Their Boyfriends: A Pilot Study
Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):264-272.
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศ ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ และลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงและเพื่อนชาย และความเป็นไปได้ของโปรแกรม วิธีการศึกษา: การวิจัยนำร่องแบบทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลองและติดตามผล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นหญิงอายุ 13 - 15 ปีและเพื่อนชาย จำนวน 7 คู่ รวบรวมข้อมูล 6 สัปดาห์ โดยทำกิจกรรมที่โรงเรียน 4 ครั้ง ใช้เวลา 120 นาทีต่อครั้ง (สัปดาห์ที่ 1 - 4) และทำกิจกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ 2 ครั้ง ใช้เวลา 60 นาทีต่อครั้ง (สัปดาห์ที่ 5 - 6) รวบรวมข้อมูลที่ก่อนเริ่มทดลองโปรแกรม เสร็จสิ้นโปรแกรม (สัปดาห์ที่ 6) และติดตามผล (สัปดาห์ที่ 10) โดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบฟรีดแมนสำหรับการประเมินซ้ำและทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยดันน์-บอนเฟอโรนี ผลการศึกษา: พบว่าหลังการทดลอง คะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศและคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ทั้งระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง (P-value < 0.05) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลอง (P-value < 0.05) สรุป: มีความเป็นไปได้ที่จะนำโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปทดสอบในการศึกษาหลัก ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศ ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ และลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงและเพื่อนชายได้ คำสำคัญ: วัยรุ่นหญิง, เพื่อนชาย, พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์, การป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศ, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ Abstract Objective: To examine the effects of a school-based pregnancy prevention program (SPPP) on sexual health literacy, pregnancy prevention behavior and sexual risk behavior among female teenagers and their boyfriends, and the program’s feasibility. Method: A pilot study of one-group experimental design with pre-test, post-test and follow-up measurements had 7 voluntary dyads of female teenagers aged between 13 - 15 years old and their boyfriends. Data were collected for 6 weeks. Four 120-minute weekly session (weeks 1 - 4) were implemented at school, and two 60-minute sessions were implemented via the LINETM application (weeks 5 and 6). Data were collected before and after (week 6) the program and at follow-up (week 10) using the Sexual Health Literacy Questionnaire, the Pregnancy Prevention Behavior Questionnaire and the Sexual Risk Behavior Questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and Friedman for repeated measures with Dunn-Bonferroni post hoc test. Results: The scores of sexual health literacy and pregnancy prevention behavior in both post-test and follow-up were better than that at baseline (P-value < 0.05), and the scores of sexual risk behavior in both post-test and follow-up were lower than that at baseline (P-value < 0.05). Conclusion: SPPP could be further tested in the main study with a larger sample size. The program could improve sexual health literacy, pregnancy prevention behavior, and sexual risk behavior in female teenagers and their boyfriends. Keywords: female teenager, boyfriend, pregnancy prevention behavior, school-based pregnancy prevention program, sexual health literacy, sexual risk behaviorDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์