แบบจำลองเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัด A Causal Model of Health-Related Quality of Life Among Lung Cancer Patients Undergoing Chemotherapy
Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):254-263.
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบแบบจำลองเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบทดสอบรูปแบบจำลองและภาคตัดขวาง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกถูกเพื่อคัดเลือกผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัดจำนวน 232 รายในโรงพยาบาลในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบที่ให้ตอบเอง จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของ Ferrans and Powers, แบบประเมินประสบการณ์อาการของ Memorial, แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองขณะได้รับเคมีบำบัดของ Leuven, แบบสอบถามสถานภาพการทำหน้าที่, แบบสำรวจการสนับสนุนทางสังคม, และ แบบวัดการรับรู้สุขภาพทั่วไป ใช้สถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา: พบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ปรับปรุงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 154.49, P-value = 0.691, df = 164, CMIN/df = 0.942, GFI = 0.942, AGFI = 0.918, CFI = 1.000 และ RMSEA = 0.000) พฤติกรรมการดูแลตนเอง สถานภาพการทำหน้าที่ และการรับรู้ด้านสุขภาพโดยทั่วไปมีอิทธิพลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การรับรู้สุขภาพทั่วไปเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และระหว่างสถานภาพการทำหน้าที่กับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ประสบการณ์อาการและการสนับสนุนทางสังคมไม่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแต่มีผลทางอ้อม ในความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้ ประสบการณ์อาการ สถานภาพการทำหน่ที่ การรับรู้สุขภาพทั่วไป พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถทำนายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ร้อยละ 68.0 สรุป: แบบจำลองเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนี้มีความเหมาะสม ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่สำหรับวิชาชีพพยาบาลในการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัด โดยการปรับปรุงพฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับรู้สุขภาพทั่วไป และสถานภาพการทำหน้าที่ คำสำคัญ: แบบจำลองสาเหตุ, สถานภาพการทำหน้าที่, การรับรู้สุขภาพทั่วไป, คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม, ประสบการณ์อาการ Abstract Objective: To test a causal model of health-related quality of life (HRQoL) among lung cancer patients undergoing chemotherapy. Methods: A model-testing and cross-sectional study was conducted. A convenience sampling method was used to recruit 232 persons with lung cancer receiving chemotherapy in hospitals of the northern region of Vietnam. Research instruments included six self-report questionnaires of the Ferrans and Powers Quality of Life Index, the Memorial Symptom Assessment, the Leuven Patient Self-care during Chemotherapy, the Functional Status Questionnaire, the Social Support Survey, and the General Health Perception Scale. Descriptive statistics and Structural Equation Modeling were used to analyze the data. Results: The modification model fit the data well (X2 = 154.49, P-value = 0.691, df = 164, CMIN/df = 0.942, GFI = 0.942, AGFI = 0.918, CFI = 1.000 และ RMSEA = 0.000). Self-care behavior, functional status, and general health perception had a direct effect on HRQoL. General health perception mediated the relationships between self-care behavior and HRQOL, and between functional status and HRQoL. Symptom experience and social support had no direct effect on HRQoL, but indirect effects. In this causal relationship, symptom experience, functional status, general health perception, self-care behavior, and social support accounted for 68.0% of variance in HRQOL. Conclusion: The causal model of HRQOL is appropriated. It would suggest a new direction for the nursing profession to enhance HRQOL of person with lung cancer receiving chemotherapy through improving self-care behavior, general health perception, and functional status. Keywords: causal model, functional status, general health perception, health-related quality of life, self-care behavior, social support, symptom experienceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์