ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควรในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น Effects of Media Sexual Health Literacy Program on Premarital Sex Prevention among Junior High School Students
Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):244-253.
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลองมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 34 คน กลุ่มทดลองได้เรียนในโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศ ซึ่งมีกิจกรรม 6 ชุด นาน 6 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้เรียนเรื่องเพศศึกษาตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน ปัจจัยที่ศึกษา คือ ทัศนคติเชิงบวกต่อการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับผู้ปกครอง และความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งประเมินที่ก่อนเรียน หลังเรียน และช่วงติดตาม (สัปดาห์ที่ 10) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบการเปลี่ยนแปลงคะแนนของปัจจัยดังกล่าวด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: ที่หลังเรียนและติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติเชิงบวกต่อการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (P-value < 0.001 สำหรับทั้งสามปัจจัย) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับผู้ปกครองไม่แตกต่าง (P-value = 0.091) สรุป: โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้เกี่ยวกับสื่อทางเพศสามารถเพิ่มคะแนนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นได้ คือ ทัศนคติเชิงบวกต่อการหลีกเลี่ยง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธ และความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร คำสำคัญ: ความรอบรู้เท่าทันสื่อ, การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร, วัยรุ่นตอนต้น Abstract Objective: To determine effects of the media sexual health literacy program on factors that could affect premarital sex among junior high school students. Method: In this quasi-experiment study, male and femal students in the 8th grade at a high school in Nadee district, Prachineburi province. Thirty-one tudents in the test group received the media sexual health literacy program (6 weekly sessions) and 34 students in the control group received regular sex education classes. Factors including positive attitudes towards premarital sex, perceived self-efficacy in refusing premarital sex, comfort level to communicate and share about sexual health and behavior with parents, and intention to avoid premarital sex were measured at pre-test, post-test, and follow-up (week 10) using questionnaire. Changes in scores of each of the four factors over time between the two groups were tested using repeated measure ANOVA. Results: At post-test and follow-up, scores of positive attitudes towards premarital sex, perceived self-efficacy in refusing premarital sex, and intention to avoid premarital sex in the test group were significantly higher than the control group (P-value = 0.091, all three factors); while those of comfort level to communicate and share about sexual health and behavior with parents were not (P-value = 0.091). Conclusion: The media sexual health literacy program could improve scores of factorsthat could influence premarital sex incuding positive attitudes towards, perceived self-efficacy to refuse, and intention to avoid premarital sex. Keywords: media literacy, premarital sex, early adolescentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์