โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการภาวะอ้วนในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง เขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข A Causal Relationship Model of Childhood Obesity Management among Parents in Health Region 4, Ministry of Public Health
Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):235-243.
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการภาวะอ้วนในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในเขตสุขภาพ 4 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการภาวะอ้วนในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 5 ปี ที่มีภาวะอ้วนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 450 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 1 – 5 ตามแบบของ Likert’s scale จำนวน 5 ชุดประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดการจัดการภาวะอ้วนของผู้ปกครอง แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครอง แบบวัดแรงจูงใจในการป้องกันภาวะอ้วน แบบวัดรูปแบบการเลี้ยงดูและแบบวัดการรับรู้พฤติกรรมเด็กของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษา: พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ปรับปรุงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 260.12, P-value = 0.78, df = 134, GFI = 0.94, AGFI = 0.91 and RMSEA = 0.046) ตัวแปรต้นทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนการจัดการภาวะอ้วนในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองได้ร้อยละ 94 แบบแผนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครอง แรงจูงใจในการป้องกันโรค มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยส่งผ่านรูปแบบการเลี้ยงดูและการรับรู้พฤติกรรมเด็กของผู้ปกครอง และรูปแบบการเลี้ยงดูมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการภาวะอ้วนของผู้ปกครองสูงสุดโดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.84 สรุป: การป้องกันและแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยที่มีภาวะอ้วนจำเป็นต้องอาศัยการจัดการของผู้ปกครองอย่างเหมาะสม โดยอาศัยรูปแบบการเลี้ยงดูที่สร้างความเข้าใจร่วมกันของเด็กและผู้ปกครองโดยผ่านกระบวนการจัดการในครอบครัวอย่างมีเป้าหมายและเหมาะสม คำสำคัญ: การจัดการภาวะอ้วนในเด็กปฐมวัย, รูปแบบการเลี้ยงดู, แรงจูงใจในการป้องกันภาวะอ้วน, การรับรู้พฤติกรรมเด็กของผู้ปกครอง Abstract Objective: To examine the causal factors of childhood obesity management in parents for the development of a structural equation model of childhood obesity management in parents with the empirical data obtained, and to study the direct, indirect and collective influences of the causal factors affecting childhood obesity management among parents in Health Region 4, Ministry of Public Health. Method: In this quantitative study, a multi-stage random sampling technique was used to recruit a total of 450 parents of obese children (aged 3 - 5 years). Data were collected by using 1-5-point rating scales (Likert scales) comprising the following five parts: General data; Parents’ childhood obesity management; protection motivation; parents’ health behavior; parents’ perception of children’s behaviors and parenting styles; the data were analyzed by employing descriptive statistics and path analysis. Results: The final hypothesized model satisfactorily fit with the empirical data (Chi-square = 260.12, P-value = 0.78, df = 134, GFI = 0.94, AGFI = 0.91 and RMSEA = 0.046). All of the dependent variables together explained the variance of parents’ childhood obesity management by 94%. Parents’ health behavior, prevention motivation, parents’ perception of children’s behavior and parenting style also had direct and indirect effects on parents’ childhood obesity management through parenting style and perception of children’s behavior. Parenting style in particular had the strongest influence on parents’ childhood obesity management (DE = 0.84). Conclusion: Preventing and solving the problem of early childhood obesity require appropriate parental management based on parenting styles that create a shared understanding of children and parents through a targeted and appropriate family management process. Keywords: childhood obesity management, parenting style, prevention motivation, perception of children behavior, parent health behaviorDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์