ความคิดเห็นของเภสัชกรเกี่ยวกับประโยชน์ของหุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ Opinions of Pharmacists on Benefits of the Automated Medication Pre-dispensing Machine

Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):226–234.

Authors

  • Panyaporn Ketkram
  • Kornkaew Chanthapasa

Abstract

บทคัดย่อ   วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเภสัชกรเกี่ยวกับประโยชน์ของหุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติในด้านการให้บริการ การจัดการอัตรากำลัง และภาระงาน และการบริหารเวชภัณฑ์ วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงผสมผสานนี้  (Mixed Method Research) สัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คน ที่มีประสบการณ์การใช้หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive)  และใช้เทคนิคการบอกต่อ (snowball) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถามที่มีตัวเลือกแบบลิเกิร์ตจาก 1-ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ถึง 5-เห็นด้วยอย่างมาก เพื่อศึกษาเชิงปริมาณซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ รายงานวิจัยนี้นำข้อมูลของแบบสอบถามจากโรงพยาบาลที่มีการใช้หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติเท่านั้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: ในโรงพยาบาล 23 แห่งที่มีหุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ ความคิดเห็นต่อการใช้หุ่นยนต์สูงสุด 3 อันดับแรก คือ การใช้หุ่นยนต์ทำให้ความคลาดเคลื่อนในการจัดยาลดลง ตอบสนองต่อการพัฒนาคุณภาพระบบยา และทำให้พยาบาลในหอผู้ป่วยพึงพอใจมากขึ้น (4.48 ± 0.59, 4.43 ± 0.79, และ 4.30 ± 0.70 คะแนน ตามลำดับ) หุ่นยนต์จัดยาทำให้จ่ายยาแบบ unit dose ได้ ยกระดับการให้บริการ ลดความคลาดเคลื่อนทางยา เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานในฝ่ายเภสัชกรรม สำหรับการจัดการอัตรากำลังและภาระงาน กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการใช้หุ่นยนต์จัดยาใช้อัตรากำลังเท่าเดิมในการจัดยาผู้ป่วยใน แต่ได้คุณภาพงานมากขึ้น (3.96 คะแนน) สำหรับระบบบริการผู้ป่วยใน ทำให้ภาระงานของวิชาชีพพยาบาลลดลง พยาบาลบริหารยาแก่ผู้ป่วยถูกต้องมากขึ้น ขณะที่ภาระงานของเภสัชกรขึ้นอยู่กับบริบทของโรงพยาบาล โรงพยาบาลบางแห่งเภสัชกรมีภาระงานลดลง และสามารถเปิดงานเภสัชกรรมด้านอื่นเพิ่ม ขณะที่บางโรงพยาบาลเภสัชกรยังต้องตรวจสอบยาก่อนจ่ายให้แก่หอผู้ป่วยเช่นเดิม สรุป: หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติเพิ่มคุณภาพการให้บริการโดยลดความคลาดเคลื่อนทางยา เพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย แต่อาจไม่ช่วยให้เภสัชกรมีภาระงานลดลง แม้สามารถเปิดงานบริการเภสัชกรรมด้านอื่นได้อย่างชัดเจน คำสำคัญ: หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ, เภสัชกร, ความคิดเห็น, บริการทางเภสัชกรรม, การจัดการอัตรากำลัง, ภาระงาน, ความคลาดเคลื่อนทางยา  Abstract Objective: To explore opinions of pharmacists on benefits of the automated medication pre-dispensing machine on pharmacy service, workforce allocation, workload, and pharmaceutical administration.  Methods: In this mixed method research, in-depth interview was used to obtain qualitative findings from six key informants with experience of the robot use recruited by purposive sampling via the snowball technique. Findings were used to create questionnaire with a Likert-type rating scale ranging from 1-highly disagree to 5-highly agree for an online survey targeting hospitals under the supervision of Thailand Ministry of Public Health. In this research report, only responses from hospitals with robot use were included in analysis. Results were presented with descriptive statistics. Results: Of the 23 hospitals with the automated medication pre-dispensing machine, the most agreed issues were the machine could reduce medication errors, offer medication system development, and enhance satisfaction among workers (4.48 ± 0.59, 4.43 ± 0.79, and 4.30 ± 0.70 points, respectively). In addition, the machine allowed for unit dose dispensing, elevated pharmacy service, reduced medication errors, and improved quality and efficiency of pharmacy work. For workforce allocation and workload, respondents thought that similar workforce was needed for in-patient pre-dispensing even with the machine in use but work quality was improved (3.96 points). For in-patient service, workload of the nurse was reduced and drug administration by the nurse was more accurate. For pharmacist workload, it depended on individual hospital’s context. Specifically, robots could reduce workload in certain hospitals and allow for implementing other pharmacy services; while for other hospitals, pharmacists still needed to check prepared medications before dispensing. Conclusion: The automated medication pre-dispensing machine improved service quality by reducing medication errors and improving patient safety. However, pharmacy workforce could not be reduced even though more pharmacy services could be allowed. Keywords: automated medication pre-dispensing machine, pharmacist, opinions, workforce allocation, workload, medication errors

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-10-01