ผลของการให้แนวทางการดูแลเพิ่มเติมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุ Effects of an Enhanced Standard Care in Elderly HIV Patients

Thai Pharm Health Sci J 2022;17(3):209-218.

Authors

  • Nantana Seanglam
  • Peeraya Siphong

Abstract

บทคัดย่อ   วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการให้แนวทางการดูแลเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุชาวไทย (กลุ่มทดลอง) ต่อความต่อเนื่องในการกินยา ระดับ CD4 cell และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเทียบกับการรักษาตามมาตรฐาน (กลุ่มควบคุม) วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยรูปแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม สุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุโรงพยาบาลบึงกาฬแบบกลุ่มย่อย และใช้วิธีการจับคู่ตามเพศและระดับ CD4 cell เริ่มต้น เข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 40 คน โดยแนวทางในการดูแลรักษาเพิ่มเติม (กลุ่มทดลอง) นั้นมีการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรค การดูแลตนเองและการกินยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง จัดหากล่องยาสำหรับใส่ยาพกยาติดตัวเสมอ กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาในกลุ่มผู้ติดเชื้อ รวมถึงให้การสนับสนุนและสร้างกำลังใจ ประเมินผลลัพธ์ในสัปดาห์ที่ 1, เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 เป็นร้อยละความสม่ำเสมอในการกินยาและปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ระดับ CD4 cell และคุณภาพชีวิตซึ่งประเมินโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต MOS-HIV ทดสอบความเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป (3 ครั้ง) ของผลลัพธ์ในแต่ละกลุ่มโดยใช้ repated measures ANOVA ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีร้อยละความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัสเอชไอวีสูงกว่ากลุ่มควบคุมในเดือนที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.002) และมีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยในกลุ่มทดลองในเดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001, ทั้งคู่) กลุ่มทดลองมีระดับ CD4 cell ที่เพิ่มขึ้นจากเริ่มการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.004) ส่วนกลุ่มควบคุมมีการเพิ่มแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความแตกต่างของ CD4 cell แต่ละครั้งระหว่างสองกลุ่มนั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าที่ 6 เดือนสัดส่วนคนไข้ที่มีค่า CD4 cell counts ≥ 58.8 cells/mm3 ในกลุ่มทดลองมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การให้แนวทางในการดูแลเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุ สามารถเพิ่มความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการกินยาต้านเอชไอวี และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ควรศึกษาผลลัพธ์เหล่านี้ในระยะยาวต่อไป คำสำคัญ:  ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุ, ความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการกินยา, ระดับ CD4 cell counts, แนวทางการดูแลเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี, คุณภาพชีวิต  Abstract Objective: To determine effects of enhanced standard care (test group) on elderly HIV patients on anti-HIV medication adherence, CD4 levels, and quality of life compared with the usual standard care (control group). Method: A randomized controlled trial with random sampling and matched pairing based on gender and baseline CD4 levels. A total of 80 patients at Buengkan Hospital were randomized to the test and control groups equally. The enhanced standard care consisted of provision of knowledge of AIDS, self-care, adherence enhacement, pill box and group activities for problem sharing, support and motivation. Outcomes were assessed at week 1, month 3 and month 6 including % medication adherence, drug relatd problems, CD4 cell counts, and quality of life measused by MOS-HIV questionnaire. Within-group changes of outcomes over 3 time points were tested using repeated measures ANOVA. Results: The test group had a significantly higher % medication adherence at month 6 (P-value = 0.002), and overall quality of life scores at monts 3 and 6 than than the control group (P-value < 0.001, for both). In the test group, their CD4 cell counts increased significantly (P-value = 0.004); while those in the control group also increased but not statistically significant. At each assessment, CD4 cell counts between the two groups were not statistically different. At month 6, proportion of patients reaching the CD4 cell counts of ≥ 58.8 cells/mm3 in the test group was higher than that in the control group but with no statistical significance. Conclusion: The enhanced standard care for the elderly HIV patients improved anti-HIV medication adherence and quality of life. Studies on benefits in a longer duration should be conducted. Keywords:  elderly HIV patients, medication adherence, CD4 cell counts, enhanced standard care, quality of life  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-10-01