ผลของโปรแกรมการเล่นดนตรีบำบัดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุในชุมชน Effects of An Active Music Therapy and Social Support Program on Depression Among Thai Community-dwelling Elderly

Authors

  • พรรณงาม วรรณพฤกษ์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ณิชพันธุ์ระวี เพ็งพล
  • บุณยดา วงค์พิมล
  • ชนิดาวดี สายืน
  • ลัดดา พลพุทธา

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเล่นดนตรีบำบัดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียว ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีคะแนนภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 50 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบอย่างง่าย ดำเนินการทดลองเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2564 ได้รับโปรแกรมการเล่นดนตรีบำบัดโดยใช้อังกะลุงร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 – 1.50 ชั่วโมง ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย ทดสอบความต่างของคะแนนภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังโปรแกรมโดยใช้สถิติ paired t test ผลการศึกษา: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเล่นดนตรีบำบัดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงจาก 14.30 คะแนนเป็น 4.70 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) สรุป: โปรแกรมการเล่นดนตรีบำบัดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมสามารถลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชนได้ คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, โปรแกรมการเล่นดนตรีบำบัด, ภาวะซึมเศร้า Abstract Objective: To determine effects of an active music therapy with social support program on depression scores among community-dwelling elderly people. Methods: In this quasi-experimental research, one-group pretest-posttest design was used. The participants were 50 elderly people who had Thai Geriatric Depression score of mild to moderate level selected by simple random sampling. The study was conducted from May to July 2021. The participants received an active music therapy and social support program to play angklung 3 sessions a week with 1 - 1.50 hours per session for 12 weeks. The instrument was Thai Geriatric Depression Scale. Scores of depression before and after the program were compared using paired t-test. Result: Scores of depression decreased from 14.30 points before the program to 4.70 points after the program significantly (P-value < 0.01). Conclusion: An active music therapy and social support program decreased depression scores in community-dwelling elderly people. Keywords: elderly people, active music therapy, depression

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-07-03