ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน Factors Affecting Behaviors for Corona Virus Disease 2019 Prevention of Older Adults with Diabetes Mellitus
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน วิธีการศึกษา: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน 135 ราย ที่รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขวาว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคฯ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคฯ การสนับสนุนทางสังคม นโยบายที่เอื้อต่อการปฏิบัติตัว การได้รับข่าวสารจากสื่อ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 14วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับสูง (mean = 48.28 จาก 60 คะแนน) โดยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคฯ (β = 0.352) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคฯ (β = 0.314) การสนับสนุนทางสังคม (β = 0.277) การรับข่าวสารจากสื่อ (β = 0.172) และนโยบายที่เอื้อต่อการปฏิบัติตัว (β = 0.139) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้ร้อยละ 63.00 (R2 = 0.630, F = 44.019, P-value < 0.001) สรุป: ความรู้ ทัศนคติ การสนับสนุนทางสังคม การรับข่าวสารจากสื่อ และนโยบาย สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้ สามารถนำปัจจัยเหล่านี้ไปส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน คำสำคัญ: พฤติกรรมการป้องกัน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โควิด-19, ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน Abstract Objective: To determine level of and factors affecting the behavior for Covid-19 prevention of older adults with diabetes mellitus. Method: In this predictive correlational research, 135 participants attending the Bankwaw Sub-district Health Promoting Hospital, Selaphum district, Roi-Et province, were selected by simple random sampling. Questionnaire was used to assess knowledge about Covid-19, attitude about Covid-19, social support, health promoting policy, gained information, and behaviors for Covid-19 prevention. Multiple regression was used to test the association. Results: Participants had a high level of behavior for Covid-19 prevention (mean = 48.28 out of 60 points). knowledge about Covid-19 (β = 0.352), attitude about Covid-19 (β = 0.314), social support (β = 0.277), gained information (β = 0.172) and health promoting policy (β = 0.139) significantly predicted 63.00% the behavior (R2 = 0.630, F = 44.019, P-value < 0.001). Conclusion: Knowledge, attitude, social support, gained information and health promoting policy predicted the behavior for Covid-19 prevention. Findings could be used for promoting Covid-19 preventive behavior among diabetic elderly. Keywords: behaviors for prevention, corona virus disease 2019, older adults with diabetes mellitusDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์