ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง Predicting Factors of Quality of Life among Cancer Patients Receiving Palliative Care

Authors

  • Witchaporn Kidsamrong
  • Wipa Wiseso Department of Adult Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University, Muang Chonburi, Chonburi, 20130, Thailand
  • Chutima Chantamit-O-Pas Faculty of Nursing, Burapha University, Muang Chonburi, Chonburi, 20130, Thailand

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และการทำนายคุณภาพชีวิตโดยความหวัง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความทุกข์ทรมานจากอาการต่อคุณภาพชีวิต วิธีการศึกษา: การวิจัยทดสอบความสัมพันธ์เชิงทำนาย เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบต่อผู้ที่รับบริการ ณ โรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่งจำนวน 119 คน ใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต ความหวัง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความทุกข์ทรมานจากอาการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา: คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 66.4, SD= 15.1) ตัวแปรความหวัง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความทุกข์ทรมานจากอาการร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 68.5 (R2= 0.685) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) สรุป: สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโดยสร้างโปรแกรมหรือกิจกรรมที่มีผลต่อความหวัง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความทุกข์ทรมานจากอาการ คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลแบบประคับประคอง Abstract Objective: To determine quality of life among cancer patients receiving palliative care and examine association between quality of life with predictive factors including hope, self-esteem and symptom distress. Methods: In this predictive correlational study, 119 cancer patients receiving palliative care at a cancer hospital were selected by systematic sampling. Functional Assessment of Cancer Therapy General-FACT-G, Herth Hope Index, Rosenberg Self-Esteem Scale and Symptom Distress Scale were used to collect data. Associations were tested using Pearson’s product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis. Results: Quality of life was at a moderate level (mean = 66.4, SD= 15.1). Hope, self-esteem and symptom distress significantly predicted 68.5% of variance of quality of life (R2 = 0.685, P-value < 0.001). Conclusion: Quality of life of cancer patients receiving palliative care could be enhanced through improving hope, self-esteem, and symptom distress by means of activities or program. Keywords: quality of life, cancer patients, palliative care

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

Chutima Chantamit-O-Pas, Faculty of Nursing, Burapha University, Muang Chonburi, Chonburi, 20130, Thailand

Department of Adult Nursing

Downloads

Published

2023-06-30