ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของวัยแรงงาน ช่วงสถานการณ์การระบาดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยบูรพา Factors Influencing Health Behaviors for COVID-19 Prevention among Work-Force Age Individuals during Pandemic Situation in Eastern Economic Corridor and Burapha University Service Area

Authors

  • Pornpun Sudjai Burapha University
  • Dr. Jinjutha Chaisena Dallas
  • Dr. Chintana Wacharasin

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และอิทธิพลของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมตามแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ (PRECEDE-PROCEED MODEL) ต่อพฤติกรรมป้องกันโรคฯ ของวัยแรงงาน วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบทดสอบความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยแรงงานที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกและและเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยบูรพา ช่วงการระบาดของโควิด -19 ระหว่างพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 235 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และ 10 ปัจจัยที่อาจมีอิทธิพล  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในระดับสูงโดยคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 84.18 ของคะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ ซึ่งการรับรู้สมรรถนะในการป้องกันโรคโควิด-19 (β = 0.312, P-value < 0.001) ทัศนคติต่อมาตรการป้องกันโรคโควิด-19  (β = 0.271, P-value < 0.001) ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19  (β = 0.144, P-value < 0.05) และการเข้าถึงบริการสุขภาพ (β = 0.133, P-value < 0.05) เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ร้อยละ 37.4 (R2 = 0.374, P-value < 0.05) สรุป: สามารถใช้ผลการศึกษาพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 แก่กลุ่มวัยแรงงาน โดยมุ่งเน้นกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถะแห่งตน ทัศนคติการยอมรับมาตรการป้องกันโรค การให้ความรู้ในการป้องกันการสัมผัสเชื้อ รวมทั้งการเอื้อให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้รวดเร็ว คำสำคัญ: พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19, วัยแรงงาน, สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 Abstract Objective: To study health behavior for COVID-19 prevention and the influence of predisposing, enabling, and reinforcing factors according to the PRECEDE-PROCEED MODEL on the behaviors among individuals with work-force age.  Method: This predictive correlational study had 235 work-force age participants in the Eastern region and Burapha University service area during the COVID-19 pandemic between November and December 2021. Participants were selected through a multi-stage random sampling. The questionnaire assessed the behavior and its 10 influencing factors. Stepwise multiple linear regression was employed to test the associations. Results: The participants had a high level of health behavior for COVID-19 prevention (mean score of 84.18% of the possible total score). Perceived self-efficacy in COVID-19 prevention (β = 0.312, P-value < 0.001), attitude towards COVID-19 preventive measures (β = 0.271, P-value < 0.001), knowledge of COVID-19 and its prevention  (β = 0.144, P-value < 0.05), and access to health services (β = 0.133, P-value < 0.05) were statistically significant predictors and could predict the behavior by 37.4% (R2 = 0.374, P-value < 0.05). Conclusion:  Findings could be used to develop activities promoting health behaviors for COVID-19 prevention among this work-force age by enhancing COVID-19 prevention self-efficacy, positive attitude towards COVID-19 preventive measures, knowledge about exposure prevention, and access to health service. Key words: Health behaviors for COVID-19 prevention, work-force age, COVID-19 pandemic situation

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

Pornpun Sudjai, Burapha University

Nursing instructor,Faculty of nursing,Burapha University

Downloads

Published

2023-06-30