Relationships between Selected Variables and Physical Activities Among Low-risk Pregnant Women in China: A Cross-sectional Study
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับกิจกรรมทางกายระหว่างตั้งครรภ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับ PAP ได้แก่ อายุ, จำนวนครรภ์ทั้งหมด, สภาพแวดล้อม, การรับรู้ความเปราะบาง, การรับรู้ความรุนแรง, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค, และสิ่งชักนำให้ปฏิบัติ วิธีการศึกษา: ผู้ร่วมการวิจัย 170 รายจากการสุ่มอย่างง่ายเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยการแพทย์ Wenzhou ประเทศจีน ในช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม 2565 รวบรวมข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ ประเมินกิจกรรมทางกายในถิ่นอาศัย กิจกรรมการทางกายตามความเชื่อทางสุขภาพ กิจกรรมทางกายนานาชาติ โดยทั้งหมดเป็นภาษาจีน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง PAP กับปัจจัยต่าง ๆ โดยใช้ค่าความสัมพันธ์พอยท์ไบเซอเรียล ผลการศึกษา: ผู้ร่วมการวิจัยน้อยกว่าครึ่งมี PAP ระดับเพียงพอ (ร้อยละ 45.9) การรับรู้ความเปราะบางและการรับรู้ประโยชน์สัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.166, P-value < 0.05 และ r = 0.210, P-value < 0.01 ตามลำดับ) สรุป: หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการประเมินด้านการรับรู้ความเปราะบาง การรับรู้ประโยชน์ และกิจกรรมทางกายภาพระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีประโยชน์ทั้งสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์ และผลดีต่อสุขภาพหลังคลอดและพัฒนาการของลูก คำสำคัญ: กิจกรรมทางกาย, หญิงตั้งครรภ์, การรับรู้ความเปราะบาง, การรับรู้ความรุนแรง, การรับรู้ประโยชน์ Abstract Objective: To determine physical activity during pregnancy (PAP) in low-risk pregnant women and examine relationship among selected variables (age, parity, environment, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, and cues to action) and PAP in Wenzhou, China. Methods: Simple random sampling was used to recruit 170 participants who visited the general obstetric clinic of the second affiliated hospital of Wenzhou Medical University during the months of April to May 2022. Data were collected by using demographic record form, Chinese version of Physical Activity Neighborhood Environment Scale, Physical Activity Health Belief Scale during Pregnancy, Chinese version of International Physical Activity Questionnaire Short Form. Data were analyzed using point biserial correlation. Results: Less than half achieved adequate levels of physical activity during pregnancy (45.9%). Perceived susceptibility and perceived benefit were positively correlated to physical activity (r = 0.166, P-value < 0.05 and r = 0.210, P-value < 0.01, respectively). Conclusion: Pregnant women should be assessed for perceived susceptibility, perceived benefits, and physical activity. It can impact not only the maternal and fetal health during pregnancy, but also have a long-term impact on mother’s postpartum recovery and infant development. Keywords: physical activity, low risk pregnancy, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefitsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์