การวิเคราะห์นโยบายน้ำดื่มประชารัฐผ่านกรอบแนวคิดทุกนโยบายใส่ใจสุขภาพ: กรณีศึกษาจังหวัดลำพูน Analysis of Pracharath Drinking Water Policy with Health-in-All Policies Framework: A Case Study of Lamphun Province

Authors

  • Sunisa Sadjaviso
  • Siritree Suttajit
  • Puckwipa Suwannaprom

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์นโยบายน้ำดื่มประชารัฐผ่านกรอบแนวคิดทุกนโยบายใส่ใจสุขภาพ(Health-in-All Polices; HiAP) เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้กำหนดนโยบายในการพัฒนานโยบายที่คำนึงถึงสุขภาพ วิธีการศึกษา: งานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้มีส่วนได้เสียนโยบายประชารัฐจังหวัดลำพูนจำนวน 39 คน ระหว่างมีนาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการศึกษา: ความเป็น HiAP ของนโยบายน้ำดื่มประชารัฐมี 3 องค์ประกอบ คือ1) การคำนึงถึงมิติด้านสุขภาพที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกภาคส่วน ปัญหาสุขภาพไม่ถูกกล่าวถึงในการอนุมัติงบประมาณ ถึงแม้ที่มาของโครงการมาจากปัญหาความสะอาดของน้ำดื่ม และผู้ให้งบประมาณทราบว่าน้ำดื่มประชารัฐเกี่ยวข้องกับสุขภาพ 2) โอกาสการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายให้เป็น HiAP ยังไม่ชัดเจน โดยรัฐเห็นถึงโอกาสแก้ไขปัญหาน้ำดื่มในชุมชนพร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก แต่ยังไม่พบการเชื่อมโยงปัจจัยสุขภาพเข้ากับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ จึงไม่เกิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงให้เป็น HiAP และ 3) ผู้มีส่วนได้เสียที่ยังไม่ครอบคลุมและขาดการมีส่วนร่วม โดยหน่วยงานด้านสุขภาพไม่ถูกกำหนดในคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐจังหวัด และการไม่มีสายสัมพันธ์เป็นทุนเดิมระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพและหน่วยงานผู้ให้งบประมาณ ทำให้ดำเนินงานแบบแยกส่วน การมีส่วนร่วมของหน่วยงานด้านสุขภาพอยู่ในระดับน้อย คือรับรู้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น สรุป: นโยบายน้ำดื่มประชารัฐมีความเป็น HiAP ที่ไม่ชัดเจนทั้งในการคำนึงถึงมิติด้านสุขภาพ โอกาสการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของ HiAP และความครอบคลุมของผู้มีส่วนได้เสีย รัฐอาจเริ่มสนับสนุน HiAP ด้วยการสั่งการและสนับสนุนการสร้างความตระหนักและศักยภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และส่งเสริมการทำงานบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คำสำคัญ: นโยบายประชารัฐ, น้ำดื่มประชารัฐ, ทุกนโยบายใส่ใจสุขภาพ, นโยบายสาธารณะ, สุขภาพObjective: To analyze the Pracharath drinking water policy with Health-in-AllPolicies (HiAP) framework to feedback to policymakers in developing policiesthat are more health conscious. Method: This qualitative research useddocument reviews and in-depth interviews. The interview on a purposivesample of 39 civil state policy stakeholders in Lamphun province wasconducted from March 2019 to February 2020, and contents were analyzed.Results: Based on HiAP concept, the Pracharath drinking water policycomprised 3 elements. First, health dimensions were not included all sectors.Health issues were not incorporated in budget approval criteria although theproject was originated from the unclean drinking water and budget providersknew the health aspect of the drinking water. Second, opportunities for policychange to HiAP remained unclear. The state sees an opportunity to solve thedrinking water problem while simultaneously stimulating local economy.Despite an opportunity, health factors were not linked to the policy'seconomic goals, hence no chance to convert to HiAP. Third,  somestakeholders were not included and lacked participation. Health agencieswere not included in the provincial driving committees. There was a lack ofexisting ties between health offices and budgeting agencies; hence nocooperation but only some information received. Conclusion: Pracharathdrinking water policy was not HiAP oriented either health consideration,opportunities for HiAP's policy change, or stakeholder involvement.States may begin to support HiAP by directing and raising awareness,enhancing stakeholders’ potential, and promoting participation andcooperation of relevant agencies. Keywords: Pracharath policy, Pracharath drinking water, Health-in-All policies, public policy, health

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-06-30