ความเข้าใจด้านยาของผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ Medication Understanding among Urinary Tract Surgical Patients

Authors

  • Arunya Moolngam
  • Kornkaew Chanthapasa
  • Areewan Cheawchanwattana

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับของความเข้าใจด้านยาของผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้าใจด้านยากับปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเสริม วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่ว ต่อมลูกหมากโต ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ได้รับยาชนิดรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 292 คน แบบประเมินความเข้าใจด้านยา (medication understanding) สำหรับยาแต่ละรายการนั้น ให้คนไข้ระบุ 1) ชื่อยา 2) ข้อบ่งใช้ 3) ขนาดยา และ 4) ความถี่ โดยให้ 1 คะแนนสำหรับแต่ละคำตอบที่ถูกต้อง คะแนนรวมสำหรับยาแต่ละรายการ คือ 4 คะแนน คำนวณคะแนนเฉลี่ยโดยหารคะแนนรวมด้วยจำนวนรายการยา ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปและระดับความเข้าใจด้านยา ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้าใจด้านยากับปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเสริมโดยใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก ผลการศึกษา: ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจด้านยาเฉลี่ยในระดับพอใช้ (คะแนนเฉลี่ย 2.69 คะแนน) โดยมีร้อยละ 63.0 ที่อยู่ระดับดี และร้อยละ 37.0 อยู่ระดับพอใช้ พบว่าส่วนมากระบุความถี่ ขนาดยา และข้อบ่งใช้ได้ถูกต้อง (ร้อยละ 97.60, 88.01 และ 80.48 ตามลำดับ) แต่มีเพียงร้อยละ 2.74 ที่ระบุชื่อยาได้ พบว่าการไม่มีผู้ดูแลเตรียมให้ยา กับการมีจำนวนชนิดยาน้อยสัมพันธ์กับระดับความเข้าใจด้านยาระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: ผู้ป่วยที่ใช้ยาระบบทางเดินปัสสาวะมีความเข้าใจด้านยาระดับพอใช้โดยเฉลี่ย โดยส่วนมากระบุความถี่ ขนาดยา และข้อบ่งใช้ของยาได้ แต่บอกชื่อยาไม่ได้ เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางสื่อสารให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องทราบชื่อยาที่รับประทาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อน คำสำคัญ: ความเข้าใจด้านยา, โรคระบบศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ, ผู้ป่วยนอกObjectives: To determine levels of medication understanding among urinary tract surgical patients and relationships between medication understanding and demographic characteristics and reinforcing factors. Methods: In this cross-sectional study, patients receiving care at the Department of Urinary Tract Surgery, Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital, Tak province, Thailand were recruited. They were diagnosed with urinary tract stones, benign prostatic hyperplasia, androgen deficiency, or overactive bladder, and prescribed with medications for urological diseases for at least one month. 292 patients were tested for medication understanding with four questions for each urological medication: name, indication, dosage, and frequency. One point was given for each correct answer. With the total of 4 points for a given medication, an average score for each patient was the total sum score divided by the number of medications. Descriptive statistics were used to present demographic characteristics and levels of medication understanding. Associations between medication understanding and demographic characteristics and reinforcing factors were tested using multiple logistic regression. Results: Most participants had an average level of medication understanding (mean = 2.69 points) with 63.3% and 37.05%  with good and fair level, respectively. Most participants stated frequency, dosage and indication of the medication correctly (97.60%, 88.01% and 80.48%, respectively), while only 2.74% stated the name correctly. Having no caregivers to help administer medications and fewer medication items were significantly associated with good level of medication understanding (P-value < 0.05). Conclusion: Patients using medications for urological diseases had a fair level of medication understanding. They were able to state frequency, dosage and indication, but not the name of the medication correctly. Pharmacists and medical staff could find ways to communicate with patients to raise their awareness of knowing drug names to prevent drug duplication. Keywords: medication understanding, urinary tract surgery, outpatient

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-06-30