ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา สำหรับผู้ป่วยสูงอายุ: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม Effects of Pharmaceutical Care on Appropriateness of Medication Prescribing for Elderly Patients: A Randomized Controlled Trial
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ วิธีการศึกษา: การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ Screening tool of older people’s prescriptions (STOPP) criteria version 2 และ American Geriatrics Society (AGS) Beers Criteria หรือ Beers criteria 2015 เพื่อใช้พิจารณารายการยาที่อาจไม่เหมาะสม (potentially inappropriate medications; PIMs) ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและรับยาต่อเนื่องที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จำนวน 234 ราย ถูกสุ่มเข้าไปในกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมหรือกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบริการตามแนวทางปกติ เปรียบเทียบโอกาสในการเกิด PIMS โดยสถิติ multilevel logistic regression ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยทดสอบตัวแปรที่อาจรบกวนผลลัพธ์ด้วย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีโอกาสได้รับรายการยา PIMs น้อยกว่ากลุ่มควบคุมเป็น 0.22 เท่า (adjusted OR = 0.22, 95% CI: 0.06 - 0.78, P-value = 0.019) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุป : การบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์โดยใช้ Beers criteria 2015 และ STOPP criteria version 2 ทำให้สามารถค้นหาและลดการสั่งใช้ยาที่เป็น PIMs ได้ คำสำคัญ: การสั่งยาที่ไม่เหมาะสม, ผู้สูงอายุ, Beers criteria, STOPP criteria, การบริบาลทางเภสัชกรรม,Objective : To assess the effects of pharmaceutical care on appropriateness of medication prescribing for elderly patients. Methods: In this rndomized controlled trial, Screening Tool of Older People’s Prescriptions (STOPP) version 2 and American Geriatrics Society (AGS) Beers Criteria 2015 (Beers criteria 2015) were used a tools to perform pharmaceutical care by identifying potentially inappropriate medications (PIMs). 234 elderly patients with chronic diseases attending chronic disease clinics at Uttaradit hospital were included and randomized to either the test group (pharmaceutical care) or control group (usual care). Multilevel logistic regression adjusted for potential confounders was used to analyze the likelihood of PIMs. Result: The likelihood of experiencing PIMs among patients in the test group was 0.22 times of that in the control group (adjusted OR = 0.22, 95% CI: 0.06 - 0.78, P-value = 0.019). Conclusion: Pharmaceutical care toward appropriateness of medication prescribing for elderly patients using Beers criteria 2015 and STOPP criteria version 2 resulting in identifying and reducing the prescription of PIMs. Keywords: potentially inappropriate medications, elderly, Beers criteria, STOPP criteria, pharmaceutical care,Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์