แรงจูงใจทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ไทย Learning Motivation of Thai Pharmacy Students

Authors

  • Pawitra Pulbutr
  • Pimpilas Yodkhoksung
  • Suchanat Ketkaew
  • Kritsanee Saramunee
  • Areerut Leelathanalerk
  • Pornchanok Srimongkol
  • Wanarat Anusornsangiam

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัดแรงจูงใจทางการเรียนของนิสิตเภสัชศาสตร์ไทย และเพื่อประเมินแรงจูงใจทางการเรียนของนิสิตเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 - 6 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเปรียบเทียบแรงจูงใจระหว่างต้นและปลายภาคการศึกษา วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยพัฒนาแบบสำรวจแรงจูงใจทางการเรียนของนิสิตเภสัชศาสตร์โดยแปลจาก Modified Archer’s Health Professions Motivation Survey (MAHPMS) ของ Perrot and Deloney (2013) รวมข้อคำถาม 62 ข้อ ประกอบด้วยตัวชี้วัดหลัก 4 ด้านได้แก่ เป้าหมายการเรียนรู้ (3 ด้านย่อย) กลยุทธ์การเรียนรู้ (2 ด้านย่อย) ปัจจัยที่ควบคุมการเรียนรู้ (2 ด้านย่อย) และความยากง่ายของงานที่เลือกทำ (2 ด้านย่อย) โดยใช้ Likert scale 5 ระดับ (1 = เห็นด้วยน้อยที่สุด, 5 = เห็นด้วยมากที่สุด) ได้ทดสอบคุณสมบัติทางจิตวิทยาของเครื่องมือ เก็บข้อมูลในภาคการศึกษา 1/2563 ที่ช่วงต้นและปลายภาคการศึกษา ได้เปรียบเทียบความต่างของคะแนนตัวชี้วัดย่อยของแต่ละตัวชี้วัดหลัก ผลการศึกษา: เครื่องมือมีความตรงของเนื้อหาและความเที่ยงเชิงความสอดคล้องภายในระดับยอมรับได้ ในนิสิตทุกชั้นปีนั้น คะแนนของการเรียนรู้ในด้านย่อยแบบเพื่อเรียนรู้ กลยุทธ์การเรียนรู้ด้านย่อยแบบเชิงรุก และการควบคุมการเรียนรู้ด้านย่อยแบบปัจจัยภายใน มีค่าสูงกว่าคะแนนของตัวชี้วัดย่อยอื่นในตัวชี้วัดหลักเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) นิสิตชั้นปีที่ 1 - 5 มีคะแนนของการเลือกงานที่มีความง่ายสูงกว่างานที่มีความยาก แต่นิสิตชั้นปีที่ 6 มีคะแนนการเลือกงานที่มีความยากสูงกว่า ในช่วงปลายภาค นิสิตชั้นปีที่ 1, 4 และ 6 มีคะแนนเป้าหมายการเรียนด้านย่อยแบบไม่มีเป้าหมายเพิ่มสูงขึ้นจากต้นภาคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ขณะที่นิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3 มีคะแนนเป้าหมายการเรียนรู้ด้านย่อยแบบเพื่อเรียนรู้ลดลงจากต้นภาคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: เครื่องมือประเมินแรงจูงใจทางการเรียนของนิสิตเภสัชศาสตร์ฉบับภาษาไทยมีคุณสมบัติทางจิตวิทยาที่ยอมรับได้และสามารถวัดแรงจูงใจได้ คำสำคัญ: แรงจูงใจทางการเรียน, นิสิตเภสัชศาสตร์, การศึกษาทางเภสัชศาสตร์ เครื่องมือวัดแรงจูงใจObjective: To develop a questionnaire for measuring learning motivation of Thai pharmacy students, to measure learning motivation of 1st – 6th year pharmacy students of Mahasarakham University, and compare learning motivation at the beginning and the end of the semester. Methods: The Modified Archer’s Health Professions Motivation Survey (MAHPMS) of Perrot and Deloney (2013) was translated into Thai language. Of 62 items, 4 domans or indicators consisted of goal orientation (3 sub-domains), learning strategy (2 sub-domains), locus of control (2 sub-domains) and preference for task difficulty (2 sub-domains). The response was a Likert-type ratingscale of 1-least favored, to 5-strongest preference. Psychometri properties were tested. Data were collected in the first semester of the academic year of 2020. Within each domain, scores of sub-domains were compared. Results: Content validity and internal consistency reliability of the questionnaire were acceptable. Scores of mastery oriented goal sub-domain of learning goal, meta-cognitive sub-domain of learning strategy, and internal sub-domain of locus of control in students in all years of study were significantly higher than other sub-domains in their respective domain (P-value < 0.05). Students in their 1st – 5th year had scores of easy task higher than difficult ones; while the opposite was true for the 6th year students. At the end of the semester, students in 1st, 4th and 6th year of study had scores of academic alienation sub-domain of learning goal increased (P-value < 0.05), and 2nd and 3rd year students had scores of mastery oriented goal sub-domain decreased (P-value < 0.05). Conclusion: Thai version of the questionnaire for measuring learning motivation of pharmacy students had acceptable psychometric proterties and was able to measure learning motivation. Keywords: learning motivation, pharmacy students, pharmacy education, motivation assessment tool

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-06-30