ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ Relationship between Health Belief Perception and Health Behavior of Older Adults with Coronary Artery Disease
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ และศึกษาปัจจัยสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้านตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากผู้สูงอายุที่มาคลินิกอายุรกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชลบุรี โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 6 ด้าน และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียรสันและสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษา: เมื่อตัดกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าคะแนน outlier เหลือจำนวน 110 ราย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.1) มีพฤติกรรมสุขภาพระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 53.67 จาก 60 คะแนนเต็ม) พฤติกรรมสุขภาพสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองทางบวกระดับสูง (rSpearman = 0.811) กับการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพทางลบระดับสูง (rSpearman = -0.811) และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติทางบวกระดับปานกลาง (rSpearman = 0.359) (P-value < 0.001 ทั้งหมด) และสัมพันธ์กับการรับรู้ความรุนแรงทางบวกระดับต่ำ (rPearson = 0.200, P-value < 0.05) แต่การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้สิ่งชักนำให้สู่การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ สรุป: พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจมีระดับสูง และสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ สามารถนำสิ่งค้นพบนี้ไปส่งเสริมการสร้างเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจได้ คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดหัวใจ, พฤติกรรมสุขภาพ, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพObjective: To determine health behavior of older adults with CAD and the relationships between the six health belief perceptions of Health Belief Model and health behavior. Methods: In this cross-sectional study, 113 participants attending the medicine clinic of outpatient department at Chonburi hospital, were selected by simple random sampling. The research instruments were a demographic interview, the health belief perceptions interview with 6 aspects, and the health behavior interview. Correlations were tested by Pearson's product moment correlation and Spearman rank correlation analyses. Results: With 3 participants excluded because of being outliers, a total of 110 participants remained in the study. Most of them (99.1%) had a high level of health behaviors (mean score = 53.67 of 60 points). Health behavior was significantly, positively correlated with perceived self-efficacy at a high level (rSpearman = 0.811), negatively correlated with perceived barriers at a high level (rSpearman = -0.811) and positively correlated with perceived benefits at a moderate level (rSpearman = 0.359) (P-value < 0.001 for all). Health behavior was significantly, positively correlated with perceived severity at a low level (rPearson = 0.200, P-value < 0.05), but not correlated with perceived risk or perceived motivation. Conclusion: Health behavior in the elderly with CAD was at a high level, and significantly correlated with perceived self-efficacy, perceived barriers, and perceived benefits. These findings could be used for promoting health behavior in the elderly with CAD. Keywords: older adults, coronary artery disease (CAD), health behavior, Health Belief ModelDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์