รูปแบบโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เพื่อจัดการเกี่ยวกับการดูแลตนเอง Descriptive Model of a Self-care Mobile Application for Elderly Patients with Hypertension

Authors

  • Rattanaporn Kongkoed
  • Maneerat Rattanamahattana

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายรูปแบบโมบายแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลตนเองตามปัญหาด้านความรู้และพฤติกรรม จากมุมมองของผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเห็นหน้ากันกับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มซึ่งเก็บข้อมูลในช่วง 1 เมษายน  – 31 ธันวาคม 2563 ผลการศึกษา: ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 25 คน เป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 14 คน บุคลากรทางการแพทย์ 7 คนและผู้พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น 4 คน จากปัญหาด้านความรู้และพฤติกรรมที่พบ สามารถจัดตามมองค์ประกอบหลักดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างหลักของเมนู ได้แก่ ความรู้เรื่องโรค การแปลผลค่าความดัน ความรู้เรื่องยา และการจัดการเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยได้รับ การเตือนกินยา การเตือนวันนัด ช่องทางติดต่อโรงพยาบาล ข้อมูลผู้ป่วย พิกัดสถานพยาบาล ปุ่มกดเรียกรถพยาบาล และการวัดความเค็มของอาหาร 2) ด้านการออกแบบสื่อสาร สีที่สบายตา ตัวหนังสือขนาดใหญ่ ข้อความสั้นกระชับ มีเสียงหรือวีดิโอ และ 3) ด้านแรงจูงใจในการใช้งาน เน้นถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ มีคำแนะนำของแพทย์ และไม่มีค่าใช้จ่าย สรุป: พบองค์ประกอบของรูปแบบโมบายแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยให้การออกแบบเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาที่ตรงกับความต้องการเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ตามเป้าหมายการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คำสำคัญ: การดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, โมบายแอพส์, ความต้องการของผู้ป่วย, การผสานมุมมอง, การออกแบบเฉพาะObjective: To create a descriptive model for a mobile phone application that addresses the knowledge problems and behavioral needs of elderly patients in self-care with hypertension with emerging viewpoints of patients, medical personnel and mobile application developers. Methods: This qualitative study used semi-structured, face-to-face, in-depth interviews with three groups of key informants. Data collection was conducted between 1 April and 31 December 2020. Results: A total of 25 key informants were 14 elderly patients, 7 medical personnel, and 4 mobile application developers. Three core components emerged from the informants. First, Main Menu Structures included knowledge about hypertension, blood pressure interpretation, medication management and daily reminder, doctor’s appointment reminder, hospital contact channels, patient information, hospital location, emergency call button, and measurement of sodium in food. Second, Design of Mobile Application included eye comfort colors, large text size, short and concise messages including voice or video. Third, Motivation to Use Mobile Application included benefits for the use, doctors’ suggestions, and free-of-charge use. Conclusion: Important components for designing application that addresses hypertensive patients’ knowledge and behavior on self-care based on the present hypertension management guideline were found. Keywords: self-care, mobile applications,elderly, hypertension, patient’s needs, merging viewpoints, custom-designed

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-06-30