ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น The Association of Health Literacy for Pregnancy Prevention with Adolescent Pregnancy
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสดอบความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ matched case-control รวบรวมข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (cases) และวัยรุ่นนักเรียนหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ (controls) กลุ่มละ 180 คน ที่อาศัยใน จ.ชลบุรี โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ระดับ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะทางปัญญาระดับพื้นฐาน (ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ และการเข้าถึงข้อมูลและบริการระดับพื้นฐาน) 2) ทักษะทางสังคมระดับปฏิสัมพันธ์ (การสื่อสารเพื่อความเชี่ยวชาญ และการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพ) และ 3) ทักษะระดับวิจารณญาณ (การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง) วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพระดับพื้นฐาน ระดับปฏิสัมพันธ์ และระดับวิจารณญาณ กับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วยสถิติ Binary logistic regression ผลการศึกษา: วัยรุ่นหญิงที่มีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ระดับวิจารณญาณต่ำมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์สูงเป็นสี่เท่าของวัยรุ่นหญิงที่มีความรอบรู้ทางสุขภาพระดับวิจารณญาณดี [odds ratio (OR) = 4.12, 95% confidence interval (CI) = 1.43, 11.84] การวิเคราะห์ในแต่ละองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน พบว่าวัยรุ่นหญิงที่มีความรู้และความเข้าใจ การจัดการสภาวะสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อในระดับต่ำมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ด้วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.05 (OR = 4.69, 2.67 และ 2.53 ตามลำดับ) สรุป: การเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นควรมีการจัดรายวิชาที่เน้นความรอบรู้ทางสุขภาพ และเน้นพัฒนาทักษะระดับวิจารณญาณ. คำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การตั้งครรภ์วัยรุ่น, การป้องกันการตั้งครรภ์,วัยรุ่นหญิงObjective: To examine the relationship between health literacy (HL) for pregnancy prevention and teenage pregnancies. Method: This matched case-control study obtained data from 180 pregnant adolescents as cases and 180 non-pregnant female school adolescents as controls in Chon Buri province, Thailand, by the multi-stage sampling method. Questionnaires were used to collect personal information, and to assess sexual behavior and health literacy for pregnancy prevention (HLPP) including three cognitive levels and six components, i.e., 1) functional level (knowledge on health, and access to information skill), 2) interactive level (communication skill, and self-management scale), and 3) critical level (media literacy, and decision skill). Binary logistic regression was used to test associations of functional, interactive, and critical health literacy with adolescent pregnancy. Results: Female adolescents with poor critical HL were four times more likely to get pregnant than adolescents with good critical HL [odds ratio (OR) = 4.12, 95% confidence interval (CI) = 1.43, 11.84]. Female adolescents with low knowledge and understanding on health, management of health condition, and media and information literacy were associated with an increase in teenage pregnancy likelihood (OR = 4.69, 2.67, and 2.53, respectively, P-value < 0.05). Conclusion: The incorporation of health literacy courses based on critical skills into school education curricula is crucial to prevent teenage pregnancy. Keywords: health literacy, adolescent pregnancy, pregnancy prevention, female adolescentDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์