ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันเชื้อโควิด-19 ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดชลบุรี Factors Affecting COVID-19 Prevention Behavior in Community Pharmacies in Chonburi Province, Thailand
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับพฤติกรรม กับความรู้และทัศนคติต่อการป้องกันเชื้อโควิด-19 และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะการป้องกัน ของร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) ในจังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสาน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน ด้วยแบบสอบถามซึ่งแบ่งตามสัดส่วนและใช้การสุ่มแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูล 9 คนโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา: ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมในการป้องกันเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.833 และ 0.421 ตามลำดับ, P-value < 0.05) ตามมาตราฐานของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรมที่ร้านยาแผนปัจจุบัน ข้อแนะนำที่สังเคราะห์ได้ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้ประกอบด้วย 5 หมวด ได้แก่ สถานที่ เครื่องมือ บุคลากร การควบคุมคุณภาพยา และการให้บริการทางเภสัชกรรมในร้านยา สรุป: ความรู้และทัศนคติเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ดังนั้นหน่วยงานและเครือข่ายความร่วมมือควรมีนโยบายที่ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ สร้างเสริมทัศนคติการป้องกันเชื้อโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้น คำสำคัญ : ปัจจัย, ความรู้, ทัศนคติ,พฤติกรรม, การป้องกันเชื้อโควิด 19, ร้านขายยาแผนปัจจุบัน, เภสัชกรรมชุมชนObjectives: To determine the relationship between COVID-19 prevention bevavior and knowledge and attitude, and to synthesize recommendations of type I drugstores in Chonburi province, Thailand. Method: In this mixed methods research, quantitative data were collected from 285 participants using a survey and systematic sampling; while qualitative data were collected from nine key informants in the interview. Spearman’s rank correlation analysis was used to test the correlations. Content analysis was conducted for qualitative data. Results: Knowledge and attitude were positively related to COVID-19 preventive behavior with statistical significance (r = 0.833 and 0.421, respectively, P-value < 0.05). Based on the existing Good Pharmacy Practice, five synthesized recommendations for COVID-19 prevention which could be followed for better COVID-19 control included physical area, tools and equipment, personnel, medicine quality control, and pharmaceutical care. Conclusion: COVID-19 preventive behavior was positively related to knowledge and attitude. Thus, knowledge and attitude should be promoted to improve the COVID-19 prevention behavior by responsible agencies. Keywords: knowledge, attitude, behavior, COVID-19, prevention, community pharmacies, drugstoresDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์