Development and Evaluation of Media Literacy Program on Health Products: A Case Study of Dietary Supplements in High School Students
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลของโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อ เรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เน้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีการศึกษา: ระยะที่ 1 การพัฒนาโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ ใช้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อร่วมกับหลักการไตรยางค์การศึกษา พัฒนาโดยการสนทนากลุ่มครูและสอบถามความเห็นนักเรียน เพื่อจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 แผนกิจกรรม จัดทำลงในโปรแกรมแฟลช® ดำเนินกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 คาบเรียน รวม 4 คาบเรียน ระยะที่ 2 ประเมินผลโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยมีนักเรียนกลุ่มควบคุม 37 คน และกลุ่มทดลอง 32 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยม 5 จากสองโรงเรียน ทำแบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อฯ (ก่อนทดลอง) หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มทดลองใช้โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ และให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อฯ (หลังทดลอง) อีกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในแต่ละกลุ่ม และสถิติถดถอยเชิงเส้นแบบพหุเพื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังการทดลองระหว่างสองกลุ่มโดยควบคุมตัวแปรแปรเพศ คะแนน GPA สะสมเฉลี่ย และคะแนนการรู้เท่าทันสื่อก่อนได้รับโปรแกรม ผลการศึกษา: คะแนนทักษะการรู้เท่าทันสื่อที่หลังการทดลองในนักเรียนกลุ่มทดลองสูงขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10.56 ± 1.58 และ 8.06 ± 1.52 คะแนน, ตามลำดับ, P-value < 0.001) ในขณะที่ในกลุ่มควบคุมนั้นคะแนนไม่ต่างจากกก่อนเริ่มการทดลอง พบว่าคะแนนการรู้เท่าทันสื่อของกลุ่มทดลองกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10.56 ± 1.58 และ 6.54 ± 2.39 คะแนน ตามลำดับ, P-value < 0.001) สรุป: โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีผลทำให้นักเรียนมัธยมมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้นกว่าการไม่ได้รับโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ คำสำคัญ: การรู้เท่าทันสื่อ, โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายObjective: To develop and test a media literacy program on health products emphasizing dietary supplements in high school students. Methods: The 1st phase was the media literacy program development based on the concept of media literacy and educational trilogy. Learning activities plans were developed as guided by the information obtained from focus group of the teachers and students. Four learning plans were developed and placed on Flash® program. Learning was conducted with 4 weekly sessons. The 2nd phase evalued the efficiency of the program. A total of 37 and 32 5th grade high school students from 2 schools participated in the experimental and control groups, respectively. Students from both groups complete the test of media literacy before the program. One week later, students in the experimental group took the program. After the program completion, students in both groups complete the test. Data were analyzed using paired test for within-group comparisons, and multiple linear regression controlling for gender, cumulative GPA, and pre-test scores. Results: Mean score of media literacy of students in the experimental group after the program increased significantly from that before the program (10.56 ± 1.58 and 8.06 ± 1.52 points, respectively, P-value < 0.001); while scores in the control group did not. After the program, mean score of the experimental group was significantly higher than that of the control group (10.56 ± 1.58 and 6.54 ± 2.39 points, respectively, P-value < 0.001). Conclusion: Media literacy program on dietary supplements improved media lieracy scores for high school students when compared with no program. Keywords: media literacy, media literacy program, dietary supplements, high school studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์