การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาและความสามารถในการเดิน ขณะรบกวนกระบวนการคิดในผู้สูงอายุ Associations between Education Levels and Gait Performance during the Cognitive Dual Tasking in Older Adults
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของระดับการศึกษาต่อความสามารถในการเดินและต่อกระบวนการคิดที่เกี่ยวกับความจำทำงานในการทำกิจกรรม 2 อย่างพร้อมกันในผู้สูงอายุ วิธีการศึกษา: ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำ จำนวน 20 คน และระดับการศึกษาสูง จำนวน 20 คน เข้าร่วมการศึกษานี้ โดยทั้งสองกลุ่มมีอายุเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (อายุเฉลี่ย 68.25 ± 3.46 ปี ในกลุ่มระดับการศึกษาต่ำ และอายุเฉลี่ย 67.85 ± 5.51ปี ในกลุ่มระดับการศึกษาสูง การประเมินความสามารถในการเดินจะประเมินขณะเดินเป็นระยะทาง 10 เมตร และประเมินขณะเดินระยะทาง 10 เมตรร่วมกับการทำกิจกรรมทางความคิด กิจกรรมทางความคิด ประกอบด้วยกิจกรรมลบเลขทีละ 3 กิจกรรมบอกตัวเลขตามที่ได้ยิน และกิจกรรมบอกชื่อคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่กำหนด โดยจะมีการสุ่มลำดับของกิจกรรมทางความคิดขณะเดิน ผลการศึกษา: ระดับการศึกษามีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความเร็วในการเดิน (F(1,152) = 13.66, p < 0.001) ช่วงเวลาในการก้าว (F(1,152) = 11.53, p < 0.01) ระยะก้าวขา (F(1,152) = 15.81, p < 0.001) และจำนวนก้าวต่อนาที (F(1,152) = 14.57, p < 0.01) อย่างไรก็ตามระดับการศึกษาไม่มีผลต่อความแปรปรวนในการเดิน และผลของการทำกิจกรรมสองอย่างพร้อมกันด้านกระบวนการคิด สรุป ระดับการศึกษามีผลต่อการเดินในการตรวจประเมินความสามารถในการทรงตัวขณะเดินด้วยวิธีรบกวนกระบวนการคิดและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ โดยในผู้มีระดับการศึกษาสูงเดินได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตามระดับการศึกษาไม่มีผลต่อความแปรปรวนในการเดินและผลของการทำกิจกรรมสองอย่างพร้อมกันในกระบวนการคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางความคิดความจำทำงาน คำสำคัญ: กระบวนการคิด, การรบกวนกระบวนการคิด, ระดับการศึกษา, การเดิน Abstract Objective: To examine whether there are education differences in dual-task performances with working memory tasks in older adults. Methods: Twenty older adults with a low level of education and 20 older adults with a high level of education participated in the present study. Both groups have a similar age range (low level of education aged 68.25 ± 3.46, high level of education aged 67.85 ± 5.51). Gait was assessed under single task (10-meter walk without a cognitive task) and dual-task (walk with a cognitive task). Three cognitive tasks that were simultaneously performed during walk were subtraction, auditory working memory, and phonologic fluency that randomized in order. Results: Main effects of education were found for gait speed (F(1,152) = 13.66, p < 0.001), stride time (F(1,152) = 11.53, p < 0.01), stride length (F(1,152) = 15.81, p < 0.001), and cadence (F(1,152) = 14.57, p < 0.01). Education levels had no significant main effects on gait variability and cognitive dual-task effect (DTE). Conclusion: Education levels significantly affected gait performances in older adults. The older adults with a high education level demonstrated better performances during walking simultaneously with cognitive tasks. However, no effects of education were found on gait variability and cognitive DTE. Keywords: cognitive, dual-task interference, education level, gaitDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-09-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์