ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน Factors Influencing COVID - 19 Control Behaviors in the Community among Village Health Volunteers
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมดังกล่าวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิธีการศึกษา: การศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงทำนายมีกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี โดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 150 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดำเนินงานควบคุมโรค การรับรู้ความรุนแรงต่อโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการดำเนินงาน ทัศนคติต่อโรคและการดำเนินงาน การรับรู้นโยบายการดำเนินงาน การได้รับแรงจูงใจในการดำเนินงาน การได้รับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน และพฤติกรรมการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนโดยรวมในระดับสูงมาก (mean = 4.34 ± 0.75 จากคะแนนเต็ม 5) ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคมี 4 ปัจจัย ซึ่งปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดำเนินงาน (β = 0.578) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการดำเนินงาน (β = 0.179) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ (β = 0.183) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรับรู้นโยบายควบคุมโรค (β = 0.148) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมฯ ได้ร้อยละ 74.2 (R2 = 0.742, P-value < 0.001) สรุป: พฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ในระดับสูงมาก ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดำเนินงานควบคุมโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการดำเนินงานควบคุมโรค การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ การรับรู้นโยบายการควบคุมโรคสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญ คำสำคัญ: ปัจจัย, การควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน Abstract Objective: To determine Covid-19 control behavior and identify factors influencing the behavior among village health volunteers. Methods: In this predictive correlational research, the sample was 150 village health volunteers in Chonburi province recruited using the simple random sampling technique. Questionnaires were used to gather data for demographic information, knowledge, perceived severity, perceived susceptibility, attitude, perceived policy, motivation and materials/devices support, and Covid-19 control behavior. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze data. Results: The overall Covid-19 control behavior was at a very high level (mean = 4.34 ± 0.75 out of 5 points). The predisposing factors, i.e., knowledge (β = 0.578) and perceived risk of infection while working (β = 0.179), reinforcing factor, i.e., supports for materials and devices (β = 0.183) and enabling factor, i.e., perceived policy (β = 0.148) were able to predict the behavior with 74.2% variance explained (R2 = 0.742, P-value < 0.001). Conclusion: The Covid-19 control behavior in the community among village health volunteers was at a very high level. Knowledge, perceived susceptibility for infection, support of materials and devices, and perceived policy significantly predicted the behavior. Keywords: factors, coronavirus 2019, Covid-19, control behavior, village health volunteersDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์