ปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี Factors Affecting Online Sexual Media Literacy among Senior High School Students in Mueang District, Chanthaburi Province

Authors

  • Patcharin Boonthanom Master of Nursing Science Students, Community Practice Nursing, Faculty of Nursing Burapha University
  • Chanandchidadussadee Toonsiri Faculty of Nursing Burapha University
  • Somsamai Rattanagreethakul

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีการศึกษา: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายมีตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งภาครัฐและเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ด้วยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 194 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มารยาทในการใช้สื่อออนไลน์ ทัศนคติต่อการใช้สื่อออนไลน์เรื่องเพศ อิทธิพลของเพื่อนต่อการใช้สื่อออนไลน์เรื่องเพศ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารออนไลน์เรื่องเพศ และการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศมีระดับปานกลาง (M = 3.33 ± 1.35) ทั้ง 4 ปัจจัยสามารถร่วมทำนายการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศ ได้แก่ อิทธิพลของเพื่อนต่อการใช้สื่อออนไลน์เรื่องเพศ (β = -0.240) มารยาทในการใช้สื่อออนไลน์ (β = 0.253) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารออนไลน์เรื่องเพศ (β = -0.215) และทัศนคติต่อการใช้สื่อออนไลน์เรื่องเพศ (β = 0.186) โดยร่วมกันทำนายการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศได้ร้อยละ 27.3  (R2 = 0.273, P-value < 0.01) สรุป: อิทธิพลของเพื่อนต่อการใช้สื่อออนไลน์เรื่องเพศ มารยาทในการใช้สื่อออนไลน์ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารออนไลน์เรื่องเพศ และทัศนคติต่อการใช้สื่อออนไลน์เรื่องเพศสามารถทำนายการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจใช้เป็นข้อมูลในส่งเสริมให้นักเรียนมีการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศผ่านทางปัจจัยทั้งสี่ด้าน คำสำคัญ: การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เรื่องเพศ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  Abstract Objective: To identify factors affecting online sexual media literacy among senior high school students. Method: One hundred and ninety-four senior high school students in Muang district, Chanthaburi province were recruited using simple random sampling technique. Data were collected using questionnaires on demographic information, online media etiquette, attitude, peer influence, susceptibility, and online sexual media literacy. Stepwise multiple regression analysis was used to analyze associations. Results: The results revealed that online sexual media literacy of the participants were at a moderate level (M = 3.33 ± 1.35). The significant predictors of sexual media literacy of the participants were peer influence (β = -0.240), online media etiquette (β = 0.253), susceptibility (β = -0.215), and attitude (β = 0.186). These predictors could together explain 27.3 % of variance in sexual media literacy among senior high school students (R2 = 0.273, P-value < 0.01). Conclusion: Peer influence, online media etiquette, susceptibility and and attitude predicted online sexual media literacy among senior high school students. Findings could be useful in promoting online sexual media literacy though these factors. Keywords: online sexual media literacy, senior high school students

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-12-31