ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังชายที่ติดเชื้อเอชไอวี ในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร Factors Predicting Health Promoting Behaviors of Male Prisoners Living with HIV in Prisons, Bangkok, Thailand
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังชายที่ติดเชื้อเอชไอวีและปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าว วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังชายที่ติดเชื้อเอชไอวี ในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างตอบเองครอบคลุมข้อมูลความมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ผลการศึกษา: พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังชายที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านกิจกรรมทางกายและด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง (b = 0.409) การรับรู้อุปสรรค (b = -0.170) การรับรู้ประโยชน์ (b = 0.374) และการสนับสนุนทางสังคม (b = 0.248) สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 47.1 (R2 = 0.482, R2adj = 0.471, P-value = < 0.001) สรุป: ผู้บริหาร พยาบาล และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ สามารถส่งเสริมพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ต้องขังชายที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยพัฒนาโปรแกรมที่เพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม ลดการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม ร่วมกับการส่งเสริมเครือข่ายที่เพิ่มการสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพ คำสำคัญ: ผู้ต้องขังชาย, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, โรคติดเชื้อเอชไอวี ... Abstract Objective: To determine the health promoting behaviors of male prisoners living with HIV and to determine factors predicting those behaviors. Method: This study is predictive correlational research. Multi-stage random sampling was used to recruit 200 male prisoners living with HIV in prisons Bangkok. Data collection was carried out from July to September 2021 using self-administered questionnaires consisted of a self-esteem questionnaire, a perceived benefits questionnaire, a perceived barriers questionnaire, a perceived self- efficiency questionnaire, a social support questionnaire, and a health promoting behaviors questionnaire. Results: The results revealed that the overall of the health promoting behaviors of male prisoners living with HIV was at a high level. The health responsibility, interpersonal relation, and spiritual growth dimensions were rated at high levels. While physical activity and stress management dimensions were rated at medium level. The perceived self-efficacy (b = 0.409), the perceived barriers (b = -0.170), the perceived benefits (b = 0.374), and the perceived social support (b = 0.248), could predict 47.1% of the variance accounted for the overall of the health promoting behaviors (R2 = 0.482, R2adj = 0.471, P-value = < 0.001). Conclusion: The administrators, nurses, and other health personnel who work in prisons should address for enhancing the health promoting behaviors of male prisoners living with HIV through program development by focusing on improving the perceived self-efficacy and benefits of the behaviors, decreasing perceived barriers to action, and also encouraging social networks to support. Keywords: Male Prisoners, Health Promoting Behaviors, HIVDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์