ผลของการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ทางสุขภาพและโภชนาการและพฤติกรรมการรับประทานอาหารในวัยผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุไทย Effect of Health Education on Health and Nutrition Literacy and Food Consumption Behavior in Thai Late Older Adult and Elders
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุไทย วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม แบบเปรียบเทียบก่อน-หลัง เลือกผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ 50 คนแบบเฉพาะเจาะจง ให้ความรู้ด้านโภชนาการและสุขภาพพร้อมกิจกรรมภายในเวลา 1 ชั่วโมง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการ และแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยประเมินก่อนเรียน และในอีก 4 สัปดาห์หลังเรียน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการ และคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อนและหลังการเรียนด้วยสถิติ paired t test ผลการศึกษา: คะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการเพิ่มขึ้นจาก 6.30 คะแนน (เต็ม 7 คะแนน) เป็น 11.20 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.001) คะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้นในด้านโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ผักในกลุ่มที่มีน้ำมันหอมระเหย และผลไม้ ขนมและเครื่องดื่มรสหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: การให้ความรู้ด้านสุขภาพที่เน้นโภชนาการช่วยเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุไทย คำสำคัญ: การให้ความรู้ทางสุขภาพ, ความรอบรู้สุขภาพและโภชนาการ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย, ผู้สูงอายุไทย ... Abstract Objective: To determine effects of health education on health and nutrition literacy and food consumption behavior in Thai late older adults and elders. Method: This quasi-experiment one-group pre-post research recruited 50 Thai late older adults and elders with a purposive sampling. The health education program was a one-hour with lecture and activities. Data were collected using questionnaires of demographic characteristics, health and nutrition literacy, and food consumption behavior before and 4 weeks after the program. Scores of health and nutrition literacy and food consumption behavior between before and after the program were compared using paired t test. Results: Scores of health and nutrition literacy significantly increased from 6.30 to 11.20 points (P-value = 0.001). Food consumption was significantly improved in protein, carbohydrate, vegetable with essential oil, and sweet fruit, dessert and soft drink at a significance level of 0.05. Conclusion: Health education improved health and nutrition literacy and food consumption behavior to in Thai late older adult and elders. Keywords: health education, health nutrition and nutrition literacy, food consumption behaviour, Thai late older adult, Thai eldersDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์