ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อความจุปอด และภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะซึมเศร้า Effects of Exercise Program on Lung Capacity and Depression among Female Adolescents with Depressive Symptoms

Authors

  • Wannee Daewisaret
  • chanudda nabkasorn Faculty of Nursing, Burapha University
  • Aporn Denan

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อความจุปอดและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะซึมเศร้า วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิงอายุ 15 - 17 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกจำนวน 66 คนที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิค 5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 50 นาที นาน 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของโรงเรียน รวบรวมข้อมูลโดยใช้การวัดความจุปอด และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า Children’s Depression Inventory (CDI) ที่ก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และติดตามผล 1 เดือน ทดสอบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มที่เวลาต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: ที่หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความจุปอดเพิ่มขึ้นและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่ำลงจากก่อนทดลองอย่างชัดเจนในขณะที่กลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวค่อนข้างน้อย และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความจุปอดและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความจุปอดและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในระยะก่อนและหลังการทดลอง และระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายสามารถลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้กับวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าได้ คำสำคัญ : โปรแกมการออกกำลังกาย, ความจุปอด, ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นหญิง Objective: To examine the effects of exercise program on lung capacity and depression in female adolescents with depressive symptoms. Method: Sixty-six high school students in the eastern region of Thailand who met the inclusion criteria were recruited and were randomly assigned to the experiment (test group) and usual care (control group), n = 33 each.  The test group was trained with 5-times weekly 50-minute sessions for 8 weeks. Those in the control group received only routine care. The measurements of lung capacity and depression using the Children’s Depression Inventory questionnaire were carried out before, right after and one-month after the program. Repeated measure ANOVA was used to compare lung capacity and depressions score over the three time points. Results: Right after and one-month after the program, lung capacity increased and depression scores decreased overtly in the test group and slightly in the control group. Over time, participants in the test group had lung capacity higher and depression scores lower than those in the control group (P-value < 0.05). In the test group, lung capacity and depressions scores over the three time points were significantly different (P-value < 0.05). Conclusion: The exercise program improved lung capacity and decreased depression in depressed female adolescents. Keywords: exercise program, lung capacity, depression, female adolescents

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-31