ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Predictive Factors of Depression among Senior High School Students On

Authors

  • Sattawat Moonsorn1
  • chanudda nabkasorn Faculty of Nursing, Burapha University
  • Pichamon Intaput
  • Sawitree Lakthong

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 102 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและมีคุณสมบัติตามงานวิจัยกำหนด รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า  3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง 4) แบบประเมินการถูกรังแกของนักเรียน 5) แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต และ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม ในช่วงธันวาคม พ.ศ. 2564 ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 64.71 ปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง (β = -0.468, P-value < 0.001) รองลงมาคือ การถูกข่มเหงรังแก (β = 0.397, P-value < 0.001)  โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 39.3  (R2 = 0.393, P-value < 0.001) สรุป: นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราภาวะซึมเศร้าค่อนข้างสูง การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมาคือการถูกข่มเหงรังแก คำสำคัญ: ภาวะซึมเศร้า, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, การเห็นคุณค่าในตนเอง, การถูกข่มเหงรังแก ­­­­Abstract Objective: To determine depression and its predictive with selected factors among senior high school students. Method: A multi-stage random sampling was used to recruit 102 students in Udonthani province, Thailand who met the inclusion criteria. Data were collected using 1) demographic characteristics questionnaire, 2) the Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D), 3) the Rosenberg Self-Esteem Scale, 4) bullying victimization questionnaire, 5) the Resilience Inventory, and 6) the Multidimensional Scale of Perceived Social Support questionnaire. Data were collected in December-2021. Associations were tested using stepwise multiple regression analysis. Results: 64.71% of participants had depression. Depression was significantly associated with self-esteem (β = -0.468, P-value < 0.001) followed by bullying (β = 0.397, P-value < 0.001). Both factors explained 39.3% of the variance of depression (R2 = 0.393, P-value < 0.001). Conclusion: Depression rate in senior high school students was high. Depression was associated with self-esteem followed by bullying. Keywords: depression, senior high school students, self-esteem, bullying

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-31