ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตในผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1 - 3 Factors Influencing Behavior for Delaying Progression of Kidney Impairment among Patients with Chronic Kidney Disease Stage 1 – 3

Authors

  • Nudchaporn Doommai Master’s degree student in nursing, Burapha University
  • Panicha Ponpinij Department of Adult Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University, 169 Long-Hard Bangsaen Road, Amphur Muang, Chonburi, 20131, Thailand
  • Saifone Muangkum Department of Adult Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University, 169 Long-Hard Bangsaen Road, Amphur Muang, Chonburi, 20131, Thailand
  • Khemmaradee Masingboon

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตในผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1 - 3 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และการได้รับข้อมูลจากบุคลากรสุขภาพ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 1 - 3 ที่รับบริการ ณ คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 105 รายจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และการได้รับข้อมูลจากบุคลากรสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 41.29 คะแนน โดยการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ (β = 0.394) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (β  = 0.201) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ (β = -0.215) และความรอบรู้ทางสุขภาพ (β = 0.203) ร่วมกันทำนายพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไตได้ร้อยละ 35.3 (R2 = 0.353, P-value < 0.001) สรุป: การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ และความรอบรู้ทางสุขภาพมีอิทธพลต่อพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต ซึ่งอาจใช้พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมได้ คำสำคัญ: พฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต, โรคไตเรื้อรัง, การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ, การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ, ความรอบรู้ทางสุขภาพ, โรคไตวายระยะสุดท้าย   ... Objective: To examine behaviors for delaying progression of kidney impairment and its influencing factors among patients with chronic kidney disease (CKD) stage 1 - 3. Method: This predictive correlational research reruited 105 participants receiving care at a non-communicable disease clinic at a university hospital in Nakhonratchasima province, Thailand by the random sampling. Data were collected using demograpic characteristics questionnaire and the questionnaire to measure the behavior to delay kidney progression, perceived susceptibility of end-stage renal disease (ESRD), perceived benefits of performning the behavior, perceived barriers to performing the behavior, health literacy, and information provided by healthcare providers. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyze data. Results: The average score of the behavior to delay kidney progression behavior was 41.29 points. Perceived benefits (β = 0.394), perceived barriers (β = -.215), health literacy (β = 0.203), and perceived susceptibility to ESRD (β = 0.201) could explain 35.3% of the variance of the behavior (R2 = 0.353, P-value < 0.001). Conclusion: Perceived benefit, perceived barrier, health literacy and perceived susceptibility to ESRD were influencing the behaviro to delay the progression to ESRD. The finding could be used in developing programs to enhnce such behavior. Keywords: behavior for delaying progression kidney impairment, chronic kidney disease, perceived benefit, perceived barrier, health literacy, end-stage renal disease   

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-12-31