ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง FACTORS INFLUENCING PREVENTION OF ACUTE EXACERBATION IN PATIENTS WITH CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE

Authors

  • Saranrat Songkhao Burapha university
  • Khemaradee Masingboon
  • Chutima Chantamit-O-Pas
  • Panicha Ponpinij

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยปัจจัยที่ศึกษาอิทธิพลทำนายประกอบด้วย การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมีประสบการณ์การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันอย่างน้อย 1 ครั้ง ในรอบ 1 ปี ที่มาตรวจติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม และคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมุทรปราการ 108 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เเบบประเมินการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ภาวะซึมเศร้า และการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน  ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันโดยรวมเท่ากับ 44.76 (SD = 4.81) ปัจจัยด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และภาวะซึมเศร้า สามารถร่วมกันทำนายการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันได้ ร้อยละ 53 (adj. R2 = .53, p < .001) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีอำนาจการทำนายการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันมากที่สุด (β = .67, p < .001) รองลงมาได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน (β = .21, p = .007) สรุป เป็นแนวทางการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตAbstract: Objective: To assess the prevention of acute exacerbation (AE) and explore its influencing factors Method: This study is a predictive research. The influencing factors of prevention of AE include the perceived severity of AE, perceived vulnerability of AE, perceived self-efficacy in the prevention of AE, and depression. The sample was people diagnosed with COPD who had experience of acute exacerbation at least one time during their annual visit at the outpatient department of medicine and COPD clinic at the Samutprakarn hospital. A total of 108 participants were selected by simple random sampling. The research instruments included the demographic data questionnaire, the perceived severity questionnaire, the perceived vulnerability questionnaire, the perceived self-efficacy questionnaire, the Thai geriatric depression scale, and the prevention of AE questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis. Results: The results showed that the mean score of prevention of AE was 44.76 (SD = 4.81). Factors including prevention of AE, perceived self-efficacy in preventing of AE, perceived vulnerability of AE, perceived severity of AE, and depression explained 53% in the variance of the prevention of AE in COPD patients (adj. R2 = 53, p < .001). The perceived self-efficacy in prevention of AE was the most predictable variable for the prevention of AE (β = .67, p < .001), followed by the perceived vulnerability of AE (β = .21, p = .007). Conclusion: The findings provide information as a guide for development a program to promote the prevention of AE by enhancing self-efficacy in the prevention of AE and increasing perceived vulnerability of AE in COPD patients. These can reduce the incidence of AE, complications, and mortality among this population. Keywords: Acute exacerbation of Chronic obstructive pulmonary disease, Perceived Self-efficacy, Perceived vulnerability, Prevention of acute exacerbation

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-12-31