ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบนาฏศิลป์ไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “เซิ้งอิสาน” ต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนหญิงในชั้นประถมศึกษา Effects of the Thai Traditional Northeastern Dance “Serng Isan Dance” Exercise Program on Physical Fitness of Female Students in Elementary School

Authors

  • Thanumporn Thonglong Udon Thani Rajabhat University
  • Korrawan Mongput

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำเซิ้งอีสาน ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนหญิงในชั้นประถมศึกษา วิธีการศึกษา: ตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงของโรงเรียนระดับประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำเซิ้งอีสานควบคู่กับกิจกรรมพลศึกษา (15 คน) การฝึกวันละ 60 นาที  3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมพลศึกษาเท่านั้น (15 คน)ประเมินสมรรถภาพทางกายก่อนการฝึกและหลังการฝึก ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ independent t- test และภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t- test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.05 ผลการศึกษา: หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสามด้านคือ ความยืดหยุ่น ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อส่วนล่าง และและความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนดัชนีมวลกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือไม่ต่างกัน และในกลุ่มทดลองพบว่าทุกสมรรถนะยกเว้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือที่ดีขึ้นอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในกลุ่มควบคุมไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำเซิ้งอีสาน สามารถพัฒนาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อส่วนล่าง และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตของนักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาได้ คำสำคัญ: นักเรียนหญิง สมรรถภาพทางกาย โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำเซิ้งอีสาน Abstract Objective: To examine the effects of traditional Thai Northeastern dance “Serng Isan Dance” exercise program on the physical fitness of female students in elementary school. Methods: The sample was 30 female students from an elementary school in Udon Thani province. The experimental group (n = 15) was trained with “Serng Isan Dance” exercise program in addition to regular physical education class. Control group (n = 15) attended regular physical education class only. The program session lasted 60 minutes, took 3 sessions per week, for 8 weeks. Students’ physical fitness was tested before and after the program. Between-groups differences were tested using independent t-test. Within-group changes were tested using paired t-test. Statistical significance was set at P-value < 0.05. Results: After the program, the experimental group had flexibility, lower body muscle strength, and cardiorespiratory endurance significantly higher than the control group. In the experimental group, most fitness measures except hand muscle strength after the program were significantly better than those before the program. Conclusion: Traditional Thai northeastern dance “Serng Isan Dance” improved flexibility, muscle strength in lower body, and cardiorespiratory endurance in elementary school female students. Keywords: female students, physical fitness, Traditional Thai northeastern dance

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-07-03