การรับรู้และการใช้คิวอาร์โค้ดบนฉลากยาของผู้ป่วยนอกชาวไทย Perception on and Use of QR Code on Drug Labels in Thai Out-patients

Authors

  • Pattranee Khumphusan
  • Kornkaew Chanthapasa

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้และการใช้คิวอาร์โค้ดบนฉลากยา และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการใช้งานคิวอาร์โค้ดกับลักษณะทางประชากรศาสตร์และปัจจัยส่งเสริมการรับรู้และการใช้คิวอาร์โค้ด วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาโดยตัวอย่างเป็นคนไข้นอก 400 คน ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลประชากรศาสตร์ การรับรู้และการใช้คิวอาร์โค้ดบนฉลากยา (รับรู้และใช้, รับรู้แต่ไม่ได้ใช้ และไม่รับรู้) และปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการรับรู้และการใช้งานคิวอาร์โค้ด 6 ด้าน (ประสบการณ์เดิม วิธีการค้นหาข้อมูลยาที่นิยมใช้ ความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง การเห็นประโยชน์ของคิวอาร์โค้ดบนฉลากยา วิธีการจูงใจให้เกิดการรับรู้ และความสะดวกในการใช้) สุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก นำเสนอข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการใช้งานคิวอาร์โค้ดฯ กับลักษณะทางประชากรศาสตร์และปัจจัยส่งเสริมการใช้คิวอาร์โค้ดฯ โดยสถิติไคแสควร์ ผลการศึกษา: มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 13.25 ที่มีการรับรู้และใช้งานคิวอาร์โค้ดบนฉลากยา ขณะที่ร้อยละ 44.75 รับรู้แต่ไม่ใช้งาน และร้อยละ 42.00 ไม่รับรู้เกี่ยวกับคิวอาร์โค้ด พบว่าผู้ที่อายุน้อย มีการศึกษาสูง มีอาชีพที่มีรายได้มั่นคง มีโรคประจำตัว และมียารักษาโรคที่ใช้ประจำมีการรับรู้และการใช้คิวอาร์โค้ดฯ มากกว่าผู้ที่มีลักษณะตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P–value < 0.05) คุณสมบัติด้านบวกของปัจจัยส่งเสริมฯ ทั้ง 6 ปัจจัยสัมพันธ์กับการรับรู้และการใช้คิวอาร์โค้ดฯ มากกว่าผู้ที่มีลักษณะตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P–value < 0.05) สรุป: ผู้ที่อายุน้อย มีการศึกษาสูง มีอาชีพที่มีรายได้มั่นคง มีโรคประจำตัวและยาที่รักษาโรคประจำตัว และผู้ที่มีลักษณะเชิงบวกของปัจจัยส่งเสริมมีแนวโน้มที่จะรับรู้และใช้งานคิวอาร์โค้ดมากกว่าผู้ที่มีลักษณะตรงข้าม คำสำคัญ: การรับรู้, การใช้งาน, คิวอาร์โค้ด, ฉลากยา, ปัจจัยส่งเสริมAbstract Objective: To determine levels of perception on and use of QR code on drug labels and its association with demographic characteristics and facilitating factors. Method: In this descriptive study, we recruite 400 out-patients at Arjaro Community Hospital, Phaananikhom, Sakhonnakhon, Thailand. We used questionnaire to ask participant their demographic characteristics, perception on and use of QR code (perceived and used, perceived but not used, and not perceived the QR code), and 6 main facilitating factors to perception on and use of QR code (past experience, preference on drug information search, the needs for QR code, perceived usefulness of QR code, motivation to perception, and ease of use of QR code). Data were presented with descriptive statistics. Assoiations between perception on and use of QR code on drug labels and with demographic characteristics and facilitating factors were tested using chi-squae test. Results: Only 13.25% of participants perccived and used QR code on drug labels, while 44.75% perceived but did not use, and 42.00% did not perceive the QR code. Those who were younger, had high education level, had secure job and monthly income, had chronic illnesses and medications for chronic illnesses were more likely to perceive and use QR code than their counterparts with statistical significance (P–value < 0.05). Positive attribute of each individual factors of the 6 main factors was associated with perceiving and using QR code than their counterparts with statistical significance (P–value < 0.05). Conclusion: Participants who were younger, had high education level, had secure job and monthly income, had chronic illnesses, had medications for chronic illnesses, and had positive attributes of facilitating factors were more likely to perceive and use QR code on drug labels than their counterparts. Keywords: perception, perception, use, QR code, drug labels, facilitating factors

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-02-26