รูปแบบสมการโครงสร้างของสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลไทย A Structural Equation Modeling of Cultural Competence among Thai Nurses

Authors

  • Withirong Sutthigoon
  • Nujjaree Chaimongkol
  • Khemaradee Masingboon

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบรูปแบบสมการโครงสร้างเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องของสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลไทย ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนทางสมรรถนะทางวัฒนธรรมขององค์กร อคติชาติพันธุ์ ประสบการณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการปรับตัวของพยาบาล วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบทดสอบรูปแบบมีกลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 6 เดือนจำนวน 470 คน อายุเฉลี่ย 34.6 ปี คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงพยาบาล 8 แห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน ใน 4 จังหวัดที่มีผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ารับบริการ ระยะเวลาการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบวัดสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาล แบบวัดอคติชาติพันธุ์ แบบวัดประสบการณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม แบบวัดการได้รับการสนับสนุนทางสมรรถนะทางวัฒนธรรมขององค์กร และแบบวัดการปรับตัวของพยาบาล ใช้การวิเคราะห์สมการโมเดลโครงสร้าง ผลการศึกษา: สมการโครงสร้างที่ปรับปรุงแล้วเข้าได้กับข้อมูลที่ปรากฎ (c2 = 32.860, df = 21, P-value = 0.048, CMIN/df = 1.565, GFI = 0.984, CFI = 0.988 และ RMSEA = 0.035) พบว่าปัจจัยทั้ง 4 ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลไทยได้ร้อยละ 49.0 พบว่าอคติชาติพันธุ์ ประสบการณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการได้รับการสนับสนุนทางสมรรถนะทางวัฒนธรรมขององค์กรมีอิทธิพลทางอ้อมต่อสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลผ่านทางการปรับตัว และพบว่าการได้รับการสนับสนุนทางสมรรถนะทางวัฒนธรรมขององค์กรและการปรับตัวมีผลทางตรงต่อสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาล สรุป: รูปแบบสมการโครงสร้างที่ปรับปรุงแล้วมีความเหมาะสมต่อข้อมูลที่ปรากฏ การได้รับการสนับสนุนทางสมรรถนะทางวัฒนธรรมขององค์กรและการปรับตัวของพยาบาลควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดสมรรถนะทางวัฒนธรรมอย่างดีเยี่ยมของพยาบาลไทยต่อไป คำสำคัญ: การปรับตัว, อคติชาติพันธุ์, ประสบการณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, สมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาล, การสนับสนุนทางสมรรถนะทางวัฒนธรรมขององค์กรAbstract Objective: To examine the hypothesized structural equation modeling (SEM) of cultural competence with 4 factors including ethnocentric attitude, multicultural experience, organizational cultural competence support, and adaptation among Thai nurses. Method: In this model-testing study, a multi-stage random sampling was used to recruit participants from 8 hospitals, with 4 governmental and private hospitals each, serving a large number of foreign clients. The participants were 470 registered nurses with at least 6 months of working experiences with a mean age of 34.6 years. Data were collected from July to December 2020 using the Cultural Competence scale for Clinical Nurses, the Generalized Ethnocentrism scale, the Multicultural Experiences questionnaire, a subscale of the Cultural Competence Assessment, and the Goal Adjustment scale. SEM analysis was conducted. Results: The modification of the hypothesized model fitted the data well (c2 = 32.860, df = 21, P-value = 0.048, CMIN/df = 1.565, GFI = 0.984, CFI = 0.988 and RMSEA = 0.035). All 4 factors accounted for 49.0% of variance of nurses’ cultural competence. Ethnocentric attitude, multicultural experience, and organizational cultural competence support had indirect effects on cultural competence through adaptation. In addition, organizational cultural competence support and adaptation had direct effects on cultural competence. Conclusion: The findings suggest that this SEM of nurses’ cultural competence fitted the empirical data. An intervention to promote organizational cultural competence support and adaptation should be developed and implemented for Thai nurses to achieve an optimal cultural competence. Key words: adaptation, ethnocentric attitude, multicultural experience, nurses’ cultural competence, organizational cultural competence support

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-02-26