Path Analysis of Factors Influencing Smoking Behavior and Nicotine Dependence Level among Motorcycle Taxi Drivers in Songkhla Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และระดับการติดนิโคติน ในคนขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ จังหวัดสงขลา วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือคนขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในอำเภอเมืองสงขลาและอำเภอหาดใหญ่ที่สูบบุหรี่ ทั้งหมด 90 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ แบบทดสอบวัดระดับการติดนิโคติน และแบบประเมินบันไดของความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่ เครื่องมีมีความเชื่อมั่นสูง (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.859, 0.903 และ 0.969 ตามลำดับ) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทางปัจจัย ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายทั้งหมด ส่วนใหญ่อายุ 51-60 ปี สูบบุหรี่ไม่เกิน 10 มวนต่อวัน (52.2%) และสูบทุกวัน (91.1%) มักสูบบุหรี่ขณะนั่งพักที่คิวรถจักรยานยนต์ (42.2%) พบว่าโมเดลเส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และระดับการติดนิโคตินสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 19.558, df = 21, χ2/df = 0.931, P-value = 0.549, CFI = 1.000, TLI = 1.000, RMSEA < 0.001, SRMR = 0.057, R2 = 0.686) โดยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในด้านระยะเวลาที่สูบบุหรี่ได้รับอิทธิพลจากอายุ การรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ การรับรู้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในด้านความพยายามเลิกบุหรี่ได้รับอิทธิพลจากการรับรู้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และระดับการติดนิโคตินได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในด้านปริมาณการสูบบุหรี่ ความพยายามเลิกบุหรี่ ปัญหาทางด้านสุขภาพหรือโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และการรับรู้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ สรุป: สามารถนำผลการศึกษาเป็นแนวทางจัดโปรแกรมเลิกบุหรี่ให้คนขับรถจักรยานยนต์สาธารณะโดยเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และส่งเสริมทัศนคติเชิงลบต่อการสูบบุหรี่ คำสำคัญ : การวิเคราะห์เส้นทาง, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, การติดนิโคติน, คนขับรถจักรยานยนต์สาธารณะAbstract Objective: To determine levels of and factors influencing smoking behavior and nicotine dependence level of motorcycle taxi riders in Songkhla province. Method: This cross-sectional descriptive survey recruited 90 motorcycle taxi drivers in Mueang Songkhla district and Hatyai district. Data were collected by the questionnaire on smoking behavior, the Fagerstrom Test for Nicotine Dependence, and the readiness to quit ladder. These questionnaires had high internal consistency reliability (Cronbach's alpha coefficients of 0.859, 0.903 and 0.969, respectively). The data were analyzed by descriptive statistics and path analysis. Results: All participants were male. The majority were 51 - 60 years old, smoked no more than 10 cigarettes per day (52.2%), smoked daily (91.1%), and smoked at the motorcycle taxi queue (42.2%). Factors influencing smoking behavior and nicotine dependence level fit well with empirical data (χ2 = 19.558, df = 21, χ2/df = 0.931, P-value = 0.549, CFI = 1.000, TLI = 1.000, RMSEA < 0.001, SRMR = 0.057, R2 = 0.686). The smoking duration was influenced by age, health impact perception, and perception of the law prohibiting smoking. The quit attempt was influenced by perception of the law prohibiting smoking. The nicotine dependence level was influenced by smoking amount, the quit attempt, health problem or smoking related diseases, attitude towards smoking, and perception of the law prohibiting smoking. Conclusion: The results could be used as a guideline to develop a proper smoking cessation program for motorcycle taxi riders that focuses on awareness of the health issues, the law prohibiting smoking, and the negative attitude towards smoking. Keywords: path analysis, smoking behavior, nicotine dependence, motorcycle taxi driverDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-02-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์