ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินและการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ของพยาบาลวิชาชีพไทยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ Knowledge and Practice of Post-Operative Pain Assessment and Management among Thai Registered Nurses in A Tertiary Care Hospital

Authors

  • Warunee Meecharoen

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินและการจัดการความปวดหลังผ่าตัดตามจำนวนปีของประสบการณ์ปฏิบัติงานและการผ่านการอบรมเกี่ยวกับความปวดของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรรมของโรงพยาบาลสระบุรี 85 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินและการจัดการความปวด เปรียบเทียบคะแนนความรู้และคะแนนการปฏิบัติระหว่างผู้ที่มีจำนวนปีการปฏิบัติงานต่างกันและการเคยได้รับการอบรมโดยใช้ t-test ผลการศึกษา: พบว่าพยาบาลมีอายุระหว่าง 23 ถึง 59 ปี (mean = 39.59 ± 9.21) ส่วนใหญ่ทำงานพยาบาล 11 ปีขึ้นไป (69.4%) และเคยรับการอบรมเกี่ยวกับการจัดการความปวด (65.9%) พบว่ามีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการประเมินและการจัดการความปวดหลังผ่าตัดไม่เพียงพอ (mean = 19.35 ± 3.64 คะแนน) แต่มีค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติ (mean = 3.61 ± 0.44 คะแนน) อยู่ในระดับสูง พยาบาลที่มีอายุงาน 11 ปีขึ้นไปมีคะแนนความรู้สูงกว่าคนที่อายุงานไม่เกิน 10 ปี (P-value = 0.008) และคนที่เคยรับการอบรมมีคะแนนสูงกว่าคนที่ไม่เคย (P-value < 0.001) ส่วนคะแนนการปฏิบัตินั้นพบเพียงผู้ที่เคยรับการอบรมมีคะแนนสูงกว่าผู้ไม่เคยรับการอบรม (P-value = 0.013)  สรุป: พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งมีความรู้เกี่ยวกับการประเมินและการจัดการความปวดหลังผ่าตัดไม่เพียงพอ ควรได้รับการเสริมความรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ คำสำคัญ: ความรู้, การปฏิบัติ, ความปวดหลังผ่าตัด, การจัดการความปวด, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิAbstract Objective: To compare levels of knowledge and practice in post-operative pain assessment and management regarding number of years of nursing experience and training experience among registered nurses at a tertiary hospital. Method: In this correlational research, a sample of 85 registered nurses was recruited from surgical wards of Saraburi Hospital, Thailand. Questionnaires were used to collect demographic characteristics, knowledge and practice of postoperative pain management. Scores of knowledge and practice between those with differences in number of years of nursing practice and training history were compared using t-test. Results: Participating nurses were in their 23 to 59 years of age with an average of 39.59 ± 9.21 years. Most of them had been practicing nursing at least 11 years (69.4%), and had a training in pain management (65.9%). Participants had inadequate knowledge of postoperative pain management (mean = 19.35 ± 3.64 points) but a high level of practice (mean = 3.61 ± 0.44 points). Those with at least 11 yers of nursing work had knowledge score significantly higher than those with fewer nursing years (P-value = 0.008), and those with training history also had the score significantly higher than their counterparts (P-value < 0.001). For practice scores, only those with training history had the score significantly higher than their counterparts (P-value = 0.013). Conclusion: Knowledge in postoperative pain assessment and management was inadequate among registered nurses at a tertiary hospital. Regular in-service education and training should be encouraged. Key words: knowledge, practice, post-operative pain, pain management, registered nurse, tertitary care hospital

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-02-26