การพัฒนาและทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือในการประเมินแผลกดทับ บนพื้นฐานทางการแพทย์แผนไทย Development and Reliability Testing of an Assessment Tool for Pressure Ulcers Based on Thai Traditional Medicine
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินแผลกดทับทางการแพทย์แผนไทย และเพื่อทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือระหว่างผู้ประเมิน วิธีการศึกษา: แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) บันทึกประสบการณ์การประเมินแผลกดทับทางการแพทย์แผนไทย 2) สังเกตการรักษาแผลกดทับในผู้ป่วย 24 ราย สังเกตและวิเคราะห์ลักษณะของแผลกดทับ 47 แผล เพื่อเป็นชุดข้อมูลสำหรับใช้พัฒนาเครื่องมือ 3) เปรียบเทียบลักษณะของแผลกดทับที่ใช้ในทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน ลักษณะแผลที่มีความเป็นวัตถุวิสัยและเข้าคู่กันได้ทั้งทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันจะถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในเครื่องมือประเมิน 4) ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือระหว่างผู้ประเมิน จากผู้ประเมิน 17 คน โดยคำนวณจากร้อยละของความเหมือนเปรียบเทียบกับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ร้อยละของความเหมือนโดยรวม และ การใช้สถิติแคปปา ผลการศึกษา: แผลกดทับที่สังเกตได้รับการประเมินทางการแพทย์แผนไทย เป็น แผลวาตะ 37 แผล (ปัญหาของระบบไหลเวียน) และแผลปิตตะ 10 แผล (มีความร้อนที่มากเกินไป) ลักษณะของแผลในทางการแพทย์แผนไทย 8 ลักษณะ เข้าคู่ได้กับกลุ่มลักษณะของแผลทางการแพทย์แผนปัจจุบัน 9 กลุ่ม โดยมีเพียง 4 กลุ่ม ที่เป็นวัตถุวิสัยและถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในเครื่องมือประเมินแผลกดทับทางการแพทย์แผนไทย (TTM-PUAT) ได้แก่ 1) โพรงของแผล 2) เนื้อตาย 3) ระดับความรุนแรงของแผล 4) การอักเสบ ผลการประเมินความเชื่อมั่นของเครื่องมือ TTM-PUAT ได้แก่ 78.8% ของความเหมือนเมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ, 73.09% ของความเหมือนโดยรวม และสถิติแคปปา 0.46 แสดงความเหมือนระดับปานกลาง สรุป: TTM-PUAT เป็นเครื่องมือในการประเมินแผลกดทับ ที่เชื่อมโยงลักษณะของแผลกดทับผ่านมุมมองทางการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน คำสำคัญ: การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์ผสมผสาน, เครื่องมือการประเมิน, แผลกดทับAbstract Objective: To develop a tool for pressure ulcer assessment based on Thai traditional medicine (TTM) and to determine interrater reliability of the tool. Method: There were 4 processes to develop the tool for pressure ulcer assessment. First, documentation of an experience of TTM pressure evaluation. Second, observation on pressure ulcers treatment from 24 patients. A total of 47 pressure ulcers were observed and analyzed their characteristics. Observed pressure ulcers data were used to develop the tool. Third, comparisons of wound characteristics recognized by TTM with those of modern medicine. Objective characteristics of TTM matched with modern medicine were selected to use in the tool. Fourth, evaluation of the tool’s interrater reliability by 17 raters. The interrater reliability was calculated by % agreement by expert assessment, % overall agreement and Kappa statistics. Results: Based on TTM, the observed pressure ulcers were assessed as 37 Wata wounds (circulation problems), and 10 Pitta wounds (excessive heat). There were 8 wound characteristics in TTM matched with 9 domains of those in modern medicine. Only four domains were classified as objective characteristics and selected to establish a Thai Traditional Medicine Pressure Ulcer Assessment Tool (TTM-PUAT) inlcuidng 1) undermining, 2) necrotic tissue, 3) pressure ulcer staging and 4) inflammation. The TTM-PUAT showed interrater reliability with 78.8% expert agreement, 73.09% overall agreement, and a moderate agreement with a Kappa coefficient of 0.46. Conclusion: The TTM-PUAT is an assessment tool for pressure ulcer based on TTM that link characteristic of pressure ulcer through both perspectives of TTM and modern medicine. Keywords: alternative medicine, complementary medicine, assessment tool, pressure ulcersDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-02-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์