ผลของรูปแบบการพยาบาลต่อความทุกข์ทรมานของมารดาที่มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วย Effects of Nursing Intervention Model on Suffering in Mothers with Low Birth Weight Infants Hospitalized in Sick Newborn Care Unit
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลต่อความทุกข์ทรมานของมารดาที่มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วย วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วย ในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคตะวันออกแห่งหนึ่งจำนวน 42 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามรูปแบบการพยาบาล 4 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการศึกษา: เมื่อสิ้นสุดการทดลอง มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนความทุกข์ทรมานลดลงจากก่อนการทดลอง (37.90 คะแนน) มากกว่ามารดากลุ่มควบคุม (20.76 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -8.43, P-value < 0.001) สรุป: รูปแบบการพยาบาลสามารถลดความความทุกข์ทรมานของมารดาที่มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพสามารถประยุกต์ใช้รูปแบบการพยาบาลนี้ เพื่อลดความทุกข์ทรมานของมารดาและเพิ่มคุณภาพการดูแลมารดาที่มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย คำสำคัญ: มารดา, ความทุกข์ทรมาน, รูปแบบการพยาบาล, ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย การดูแลทารกแรกเกิดป่วย Abstract Objective: To examine the effect of nursing intervention model on suffering in mothers with low birth weight infants hospitalized in sick newborn care unit. Methods: This quasi-experimental study recruited 42 mothers with low birth weight infants who met inclusion criteria from a regional public hospital in Eastern Thailand and randomly assigned them into experimental and control groups of equal size. Both groups attended the regular care. The experimental group also received 4 sessions of the nursing intervention model. Descriptive statistics and independent t-test were conducted for data analysis. Results: At the end of the study, the decrease in the suffering score in the experimental group (37.90 points) was greater than that in the control group (20.76 points) with statistical significance (t = -8.43, P-value < 0.001). Conclusion: The suffering among mothers with low birth weight infants receiving the nursing intervention model was relieved better than those receiving only a regular care. This intervention model should be used to relieve suffering among mothers of low birth weight infants. The nurses and health care professionals could apply this model to increase a quality of nursing care. Keyword: mother, suffering, nursing intervention model, low birth weight infants, sick newborn careDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-02-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์