เภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาวอริโคนาโซลในผู้ป่วยเด็กชาวไทย ที่เป็นโรคราแอสเปอร์จิลลัสชนิดรุกราน Population Pharmacokinetics of Voriconazole in Thai Children Patients with Invasive Aspergillosis
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินเภสัชจลนศาสตร์ประชากรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของยาวอริโคนาโซลในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อราแอสเปอร์จิลลัสชนิดรุกราน วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เก็บข้อมูลย้อนหลังจากโรงพยาบาล 2 แห่ง ในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคราแอสเปอร์จิลลัสชนิดรุกราน และได้รับการรักษาด้วยยาวอริโคนาโซล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2561 วิเคราะห์เภสัชจลนศาสตร์ประชากรจากข้อมูลการตรวจติดตามระดับยาในเลือด โดยวิธี non-linear mixed-effect model ประเมินความถูกต้องเหมาะสมของแบบจำลองสุดท้ายด้วยวิธี bootstrap และ prediction corrected visual predictive check (pcVPC) ผลการศึกษา: จากข้อมูลระดับยาวอริโคนาโซลทั้งหมด 337 ตัวอย่าง จากผู้ป่วย 79 คน พบว่าแบบจำลอง one-compartment model with first-order absorption, linear elimination, and allometric scaling มีความเหมาะสมกับข้อมูลของการศึกษา ค่าเฉลี่ยของค่าการขจัดยาเท่ากับ 11.3 ลิตรต่อชั่วโมงต่อ 70 กิโลกรัม ค่าการกระจายตัวเท่ากับ 273 ลิตรต่อ 70 กิโลกรัม ค่าคงที่การดูดซึมยา1.19 ต่อชั่วโมง และค่าชีวประสิทธิผลของยารับประทาน เท่ากับ 0.796 ปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์คือ น้ำหนักโดยใช้สมการแอลโลเมตรี (allometric equation) และ aspartate aminotransferase (AST) ต่อค่าการขจัดยา (P-value < 0.001) สรุป: แบบจำลองทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากรสามารถนำมาช่วยประเมินพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาวอริโคนาโซลและเป็นแนวทางในการกำหนดขนาดยาโดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ น้ำหนักและ AST คำสำคัญ: เภสัชจลนศาสตร์ประชากร, ยาวอริโคนาโซล, เด็ก, ไทย, การติดเชื้อแอสเปอร์จิลลัสชนิดรุกรานAbstract Objective: To estimate the population pharmacokinetics of voriconazole, to identify factors influencing voriconazole pharmacokinetics in Thai children patients with invasive aspergillosis. Methods: This study was a two-center, retrospective study in children (<12 years) with invasive aspergillosis treated with voriconazole between January 2014 and December 2018. A population pharmacokinetics was conducted from routine voriconazole therapeutic drug monitoring data and was analyzed by a non-linear mixed-effect modeling approach. Bootstrap and prediction corrected visual predictive check (pcVPC) were used to validate the final models. Results: A total of 337 voriconazole plasma concentrations from 79 patients were collected in this study. The data were appropriately fitted by a one-compartment model with first-order absorption, linear elimination, and allometric scaling. The mean of clearance was 11.3 L/h/70 kg, volume of distribution was 273 L/70 kg, absorption rate constant was 1.19 h-1, and oral bioavailability was 0.796. Covariate analysis identified that body weight with allometric scaling improved the model, and aspartate aminotransferase (AST) presented a significant impact on clearance (P-value < 0.001). Conclusion: Final population pharmacokinetic model can be useful to assess the pharmacokinetic parameters of voriconazole and guide dosing strategies base on factors including body weight and AST. Keywords: population pharmacokinetics, voriconazole, pediatric, Thai, invasive aspergillosisDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-02-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์