ความชุกของการจงใจทำร้ายตนเองในวัยรุ่นไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การประยุกต์ใช้สำหรับผู้เฝ้าระวัง Prevalence of Deliberate Self-harm among Thai Adolescents and Associated Factors: Implications for Gatekeepers
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล และครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการจงใจทำร้ายตนเองในวัยรุ่นไทย วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนชาวไทย 360 คนที่อายุ 15 - 19 ปี เพื่อกรอกแบบสอบถามแบบไม่เปิดเผยตัวตน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมที่ศึกษาในโรงเรียนมัธยมในภาคเหนือของประเทศไทย รวบรวมข้อมูลในช่วงกรกฎาคม 2562 ถึงมกราคม 2563 ประเมินการจงใจทำร้ายตนเองโดยใช้แบบสอบถาม Deliberate Self-Harm Inventory-10-Item Version Revised (DSHI-9r) ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา: พบว่าอัตราความชุกของพฤติกรรมการจงใจทำร้ายตนเองในวัยรุ่นไทยอยู่ที่ 91.7% โดยส่วนใหญ่วัยรุ่นชายและวัยรุ่นในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีแนวโน้มพฤติกรรมการจงใจทำร้ายตนเอง (P-value < 0.05 for both) และพบว่าวัยรุ่นที่พ่อแม่ไม่อยู่ด้วยกันและที่รายได้ครอบครัวไม่เพียงพอก็มีแนวโน้มพฤติกรรมการจงใจทำร้ายตนเองเช่นกัน (P-value < 0.05 for both) สรุป: ความชุกของการจงใจทำร้ายตนเองในวัยรุ่นไทยสูงสูงมาก และสัมพันธ์กับเพศชาย, เรียนในชั้นปีต้น, พ่อแม่ไม่อยู่ด้วยกัน และรายได้ครอบครัวไม่เพียงพอ คำสำคัญ: วัยรุ่น, การจงใจทำร้ายตนเอง, ระดับชั้น, สถานภาพสมรสของพ่อแม่, รายได้ครอบครัวพอเพียง Abstract Objective: To determine the prevalence and explore associated socio-demographic factors that predicted deliberate self-harm (DSH) among Thai adolescents. Methods: We recruited 360 adolescents aged 15 - 19 years old to complete an anonymous self-report questionnaire. A multi-stage random sampling was used to recruit participants who studied in high schools in northern Thailand. Data collection for the cross-sectional study was carried out from July 2019 to January 2020. DSH was measured using the Deliberate Self-Harm Inventory-10-Item Version Revised (DSHI-9r). Logistic regression was conducted to test the associations. Results: The results revealed a 91.7% prevalence rate of DSH behaviours among the Thai adolescents. Being male, studying in Mathayom 4 (i.e., grade 10), parents not living together, and having insufficient household income were more likely to have DSH (P-value < 0.05 for both). Conclusion: The prevalence of DSH among Thai adolescents was high and it was associated with being male, lower academic year, having parents not living together, and having insufficient household income. Keywords: adolescents, deliberate self-harm, grade level, parents’ marital status, sufficiency of household incomeDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์