ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มิน ในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเม็ทฟอร์มิน Risk Factors of Metformin-associated Lactic Acidosis in Type 2 Diabetic Patients Using Metformin

Authors

  • Juntip Kanjanasilp Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand
  • Narumon Kuncharoenrut Mahasarakham Hospital, Maha Sarakham, Thailand
  • Atchareeya Seehawong Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand
  • Benjarat Jittayanan

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มิน (MALA) ในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเม็ทฟอร์มิน วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเคส-คอนโทรลมีตัวอย่างเป็นคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่กินยาเม็ทฟอร์มินที่มีข้อมูลการรักษาในเวชระเบียนของโรงพยาบาลมหาสารคามในช่วง 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563  เคสคือคนไข้ที่เกิด MALA ส่วนคอนโทรลคือคนไข้ที่ไม่เกิด MALA ทดสอบปัจจัยเสี่ยง 38 ปัจจัยที่อาจสัมพันธ์กับ MAL โดยการวิเคราะห์ univariate จากนั้นทดสอบปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญโดย multiple logisic regression analysis แสดงความเสี่ยงด้วยค่า adjusted odds ratio (adj. OR) พร้อมค่า 95% confidence interval (CI) ผลการศึกษา: มีเคส 37 ราย และคอนโทรล 74 ราย พบว่ามี 3ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ MALA ได้แก่ เพศชาย (adj. OR = 6.319, 95% CI = 2.166 - 18.433, P-value = 0.001) ยาเม็ทฟอร์มินขนาดสูง ³ 2,000 มก.ต่อวัน (adj. OR = 12.153, 95% CI = 4.076 - 36.238, P-value < 0.001) และภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ระยะ 2 และ 3 (adj. OR = 7.709, 95% CI = 1.511 - 39.339,  P-value = 0.014) สรุป: เพศชาย ยาเม็ทฟอร์มินขนาดสูง และโรคไตเรื้อรังระยะ 2 และ 3 มีความเสี่ยงในการเกิด MALA มากกว่าเพศหญิง ยาเม็ทฟอร์มินขนาดต่ำ และโรคไตเรื้อรังระยะ 1 หรือไม่มีโรคไตเรื้อรัง คำสำคัญ: ภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มิน, คนไข้เบาหวานชนิดที่ 2, ปัจจัยเสี่ยง, การรักษา, ผลลัพธ์ทางคลินิก Abstract Objective: To investigate risk factors, treatment modalities, and clinical outcomes of metformin-associated lactic acidosis (MALA). Method: In this case-control study, type 2 diabetic patients taking metofrmin in the medical records of Mahasarakham Hospital between 1 January 2018 to 31 December 2020 were reviewed. Patients who developed lactic acidosis were cases; while those who did not were controls.  A total of 38 risk factors were tested were tested for associations with MALA using univariate analysis. Significant factors were further tested in multiple logistic regression analysis. Adjusted odds ratio (adj. OR) with 95% confidence interval (CI) were presented. Results: A total of 37 and 74 cases and cxontrols were included, respectively. Three risk factors were significantly associated with MALA: men (adj. OR = 6.319, 95% CI = 2.166 - 18.433, P-value = 0.001), metformin dose of ³ 2,000 mg/day (adj. OR = 12.153, 95% CI = 4.076 - 36.238, P-value < 0.001), and chronic kidney disease (CKD) stage 2 or 3 (adj. OR = 7.709, 95% CI = 1.511 - 39.339,  P-value = 0.014). Conclusion: Men, high dose metformin and CKD stage 2 or 3 were significantly more likely to experience MALA than women, metformin lower dose, and CKD stage 1 or no CKD. Keywords: metformin-associated lactic acidosis, type 2 diabetic patients, risk factors, treatment, clinical outcomes  

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

Benjarat Jittayanan

Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand

Downloads

Published

2023-04-03